ที่มาของข้อมูล
วิเวศ วัฒนสุข. 2549. 8 ทศวรรษดอกเอื้องเวียงพิงค์สายสัมพันธ์แห่งอารยธรรม.กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
๘ ทศวรรษ นางสาวเชียงใหม่ ๒๔๗๗ - ๒๕๔๙ |
ยุคที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๓ |
นางสาวฟองจันทร์ อินทขัติย์ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๗๗ (เสียชีวิต) นางสาวประภา ไวเวกข์ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๗๘ (เสียชีวิต) นางสาวสมถวิล แควน้อย นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๗๙ นางสาวบัวเที่ยง พรหมชนะ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๘๐ นางสาวกาพแก้ว เทพมา นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๘๑ นางสาวบัวแก้ว อินทร์สุวรรณ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๘๒ นางสาวลมุน พันธุมินทร์ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๗๔ (เสียชีวิต)
![]() |
เวทีการประกวด ความงามของสาวเชียงใหม่นั้น สืบสาวไปได้ราวปี ๒๔๗๓ในงานรื่นเริงในฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ ณ โรงเรียนยุพราช วิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรก ของจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะนั้นมีการประกวดสาวงามประจำท้องถิ่นโดยใช้ชื่อการประกวดว่า "นางงามประจำร้าน" กระทั่งต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศไทยได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญ ฉบับแรกในยุคนั้น งานเฉลิมฉลองรัฐธรรนูญจะมี ีบทบาทต่อสังคม ประชาชน อย่างมากในพระนครจะมีการจัดงานเฉลิมฉลอง ขึ้นในช่วงประมาณ วันที่ ๘-๑๒ ธันวาคมของทุกๆปี ทั้งนีปีพ.ศ. ๒๔๗๗ คณะกรรมการจัดงานฉลอง รัฐธรรมนูญจะมีความประสงค์ที่จะสร้างสีสันและดึงดูดความสนใจจากประชาชนให้มาร่วมงานมากขึ้น จึงได้จัดการ ประกวดว่า "นางสาวสยาม" |
ทั้งนี้ในปีเดียวกันนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดงานรื่นเริงเพื่อเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญขึ้นบ้าง โดยจัดให้มีการออกร้าน ของหน่วยงานราชการและเอกชนต่างๆมากมายพร้อมกันนั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อการประกวดนางงามภายในงาน จากนางงาม ประจำร้านเป็นการประกวดนางงามเชียงใหม่ ในปีนั้น มีสาวงามจากอำเภอต่างๆให้ความสนใจเข้าร่วมประกวดอย่างคึกคัก ในยุคนั้น ผู้เข้าประกวดส่วนใหญ่ มักจะมีอายุไม่มากนัก โดยมีอายุเพียง ๑๖-๑๗ ปีเท่านั้น มีการประกวดเพียงวันเดียวไม่มี ีการคัดเลือกเป็นรอบๆดังเช่นสมัยนี้ |
![]() |
![]() |
การแต่งกายใส่ผ้าถุงห่มสไบไม่มีการแต่งหน้า ทำผม ไม่ใส่รองเท้าต้องเดินเท้าเปล่า เกณฑ์การตัดสินจะดูหน้าตาและสัดส่วนเท่านั้น หลังจากที่ได้รับตำแหน่ง นางงามเชียงใหม่ จะได้รับเงินรางวัล ๑๐๐ บาทในปีแรกๆ รางวัลที่ได้รับจะเป็นเพียงสายสะพายประจำตำแหน่ง และขันน้ำพานรอง เท่านั้น โดยผู้ที่มอบรางวัล คือ เจ้าราชบุตร ณ เชียงใหม่ ต่อมาในปี ีพ.ศ. ๒๔๘๒ จึงได้เริ่มมีมงกุฏเป็นรางวัล ในการประกวดนางงามเชียงใหม่ โดยมีลักษณะเป็นแถบผ้ากำมะหยี่สีดำ ปักด้วยดิ้นเวลาสวมก็ใช้ติดตะขอด้านหลัง มงกุฏนี้จะให้ผู้ดำรงตำแหน่ง นางาามเชียงใหม่ครองเพียง๖ เดือนเท่านั้น จากนั้นจะต้องส่งมอบให้กับนางงามเชียงใหม่คนต่อไป ซึ่งมงกุฏนี้ ปรากฏว่ามีผู้ครอบครองอยู่เพียง ๒ ท่านเท่านั้น คือ นางสาว บัวแก้ว อินทร์สุวรรณ นางงามเชียงใหม่ ปี ๒๔๘๒ และนางสาว ลมุน พันธุ์มินทร์ นางงามเชียงใหม่ปี ๒๔๘๔ เนื่องจากหลังจากนั้นในปลายปี ๒๔๘๔ ได้เกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ขึ้น จึงต้องงดการประกวดไป
|
ฟองจันทร์ อินทขัติย์ |
ประภา ไวยเวกข์ นางสาวเชียงใหม่ ๒๔๗๘ |
นางสาวเชียงใหม่ ๒๔๗๙ |
|
บัวเที่ยง พรหมชนะ นางสาวเชียงใหม่ ๒๔๘๐ |
|
|
นางสาวเชียงใหม่ ๒๔๘๑ |
นางสาวเชียงใหม่ ๒๔๘๒ |