ที่มาของข้อมูล
วิเวศ วัฒนสุข. 2549. 8 ทศวรรษดอกเอื้องเวียงพิงค์สายสัมพันธ์แห่งอารยธรรม.กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
ประภา ไวยเวกข์ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๗๘ |
งานฉลองรัฐธรรมนูญอันเป็นงานออกร้านที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในยุคนั้น ได้จัดขึ้นบริเวณวังสราญรมย์ และมีการประกวดนางสาวสยามขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ สาวงามที่พิชิตมงกุฏนางสาวสยาม ๒๔๗๘ ได้แก่ นางสาว วณี เลาหเกียรติ์ ผู้มีตำแหน่งนางงาม พระนครพ่วงท้ายก่อนการประกวดนางสาวสยามเพียงหนึ่งวัน ส่วนในจังหวัดเชียงใหม่ งานฉลองรัฐธรรมนูญได้จัดขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน และการประกวดนางงามเชียงใหม่ยังคงจัดขึ้นเช่นเดียวกับงานฉลองรัฐธรรมนูญที่กรุงเทพมหานคร |
|
![]() |
การประกวด นางงามเชียงใหม่ ๒๔๗๘ นับเป็นปีที่ ๒ ของการจัดการประกวดโดยมีความแตกต่างจากการประกวดครั้งแรกโดยสาวงามผู้เข้าประกวด ต้องเดินบนเวทีมิใช่คัดเลือกจากสาวงามประจำร้านเช่นปีกลาย สิ่งหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงในการประกวดนางงามเชียงใหม่ในปีที่ ๒ นี้คือ การแต่งกาย ของผู้เข้าประกวดจากชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งผ้าจีบหน้านางและสาวงามที่ได้รับตำแหน่งสุดยอดความงามของนครพิงค์ได้แก่ นางสาวประภา ไวยเวกข์ สาวงามแรกรุ่นผู้มีวงหน้ารูปไข่ ผิวพรรณขาวละมุน ส่วนของรางวัลสำหรับนางงาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรางวัลที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ยังมีถ้วย ประจำตำแหน่ง หรือ สลุงที่มีการจัดทำขึ้นเป็นพิเศษ สำหรับนางงามเชียงใหม่อีกด้วย นางสาว ประภา พื้นเพเดิมเป็นคนกรุงเทพมหานครแต่ต้องย้ายตาม บิดา มารดา มาตั้งหลักปักฐานที่จังหวัดลำปาง นางสาวประภา เป็นคนที่มี ความสามารถในทางด้านความสวย ความงามจึงได้เข้ามาเป็นผู้ช่วยดูแลนางงาม แต่มีเหตุให้ต้องเข้ามาประกวดเอง เนื่องจากนางงามผู้เข้าประกวด มีจำนวนไม่ครบตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดงานกำหนดไว้ จึงมีผู้ทาบทามให้เธอเข้าประกวดจนได้รับตำแหน่งนางงามเชียงใหม่มาครอบครองในที่สุด |
หลังจากที่ได้ตำแหน่ง คุณประภาได้กลับมาใช้ชีวิตที่จังหวัดลำปางได้ไม่นานจนได้พบรักกับสามีซึ่งเป็นนายทหารชาวอังกฤษ และแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยมีบุตร-ธิดา รวม ๖ คนหลังจากนั้นนางประภาเองต้องย้ายตามสามีไปอยู่ที่ต่างๆ จนกระทั่งในปั้นปลาย ชีวิต ช่วง ๓๒ ปีสุดท้ายได้ย้ายกลับมาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ที่ ต.สันผักหวาน อ.หางดง และเสียชีวิตลงด้วยโรคชราเมื่อปี ๒๕๔๕ สิริรวมอายุ ๘๕ ปี โดยร่างได้อุทิศเป็นอาจารย์ใหญ่ อยู่ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นความตั้งใจของคุณประภา และสามีตั้งแต่ก่อนเสียชีวิตว่าจะอุทิศร่างของตนให้เป็นประโยชน์แก่นักเรียนแพทย์หรืออาจารย์ใหญ่ตามคำกล่าวเรียกของนักศึกษา แพทย์นั่นเอง
|
![]() |