ชื่ออื่น มะตาเสือ (เหนือ) แยใหญ่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ยอบ้าน (ทั่วไป)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก ผิวของลำต้นมีสีน้ำตาลเทาๆ เกลี้ยง
ใบ ลำต้นสูงประมาณ 1-6 เมตร ใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามข้อต้นลักษณะใบเป็นรูปมนรี ปลายและโคนแหลมขอบใบเป็นคลื่น ผิวใบเป็นมัน สีเขียวขนาดของใบกว้างประมาณ 2.5-7 นิ้ว ยาว 6-12 นิ้ว
ดอก ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 1-1.5 นิ้วมีสีขาวและมีขนาดเล็ก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ
และปลายดอกจะแยกเป็น 5 กลีบ ยาว 4.5-5 มม. กลีบด้านนอกจะเรียบ แต่ด้านในนั้นจะมีขนหนาแน่นเฉพาะส่วนบน
ผล เป็นรูปกลม หรือเป็นรูปรีผิวจะเป็นตุ่มๆ รอบๆ ผลเมื่อยังอ่อนสีเขียว พอแก่ทานได้จะมีสีขาวอมเขียว หรือออกเหลืองๆ
ภายในปี 1 เมล็ด โตประมาณ 1-2 นิ้ว ยาว 1.5-4 นิ้ว
การขยายพันธุ์ เมล็ด
ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ตลอดทั้งปี
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย และมีความชื้นอยู่บ้าง
การใช้ประโยชน์
ทางอาหาร ใบอ่อนรองก้นกระทงห่อหมก แกงป่า แกงเลียง ผลแก่สุกรับประทานได้
ทางยา ต้น รักษาวัณโรค
![]() |
![]() กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. |
![]() |
![]() |
![]() |
มะตาเสือ(ยอ) |
|