ชื่ออื่น   กุ่มบก (ทั่วไป)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น  เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาสูงประมาณ 6-10 เมตร
ใบ   ใบเป็นช่อ ช่อหนึ่งมี 3 ใบ กว้าง 4-6 ซม.ยาว 7.5-11 ซม. ก้านใบย่อยยาว 5 มม. ปลายใบเรียวแหลม

       โคนใบแคบ เนื้อใบยาวแข็ง ก้านใบยาว7-9 ซม. มีต่อมเล็กๆ อยู่ที่ปลายก้าน
ดอก ดอกออกเป็นช่อ แกนช่อดอกยาว 2.5-7 ซม. มีดอก 12-20 ดอก ก้านดอกย่อยยาว 3-5 ซม.

        ฐานดอกกว้าง 5-6 ซม. กลีบรองดอกรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักมีสีออกส้ม

        กลีบดอกรูปรี ตอนแรกสีออกเขียว ต่อไปสีขาว เหลือง หรือชมพูอ่อนเกสรตัวผู้มี 15-26 อัน

        ตอนแรกสีขาวต่อไปสีม่วงอมชมพูหรือม่วง ก้านชูรังไข่ยาว 5 ซม.สีม่วงอมชมพู รังไข่รูปรี 

        ตุ่มเกสรตัวเมียขนาดเล็ก

ผล    กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. มีก้านหนา    
การขยายพันธุ์                      เมล็ด

ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์            เดือนมิถุนายน-สิงหาคม

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม       พบตามริมฝั่งแม่น้ำ



การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ยอดอ่อน และดอกอ่อน มาดองกับน้ำเกลือรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแดงหรือนำมายำกับปลาทูนึ่ง
ทางยา           ลูก ขับลม ฆ่าพยาธิ แก้กลากเกลื้อน แก้ฝี เปลือกต้น แก้ปวดท้อง แก้บวม บำรุงไต บำรุงหัวใจ ทางแก้โรคผิวหนัง

                    แก่น แก้ริด สีดวงผอมเหลือง
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์       เดือนมีนาคม-พฤษภาคม


ที่มาของข้อมูล


กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

 

                                                 
                                                                กุ่มบก