ชื่ออื่น   พิลังกาสาดำ มะจ้ำเล็ก (เหนือ) ตาเป็ดตาไกลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น   เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ20-50 ซม. ตั้งตรง
ใบ    ใบเกี่ยวรูปหอก ปลายใบแหลม ผิวใบเรียบและขอบใบหยักเป็นลอนตื้น

ดอก ดอกเล็กสีขาวแกมชมพู เป็นช่อกระจุกออกตามยอดและข้างกิ่ง ก้านช่อดอกยาว ช่อหนึ่ง มีดอกประมาณ

        10-20 ดอก เมื่อดอกบานเต็มที่จะเห็นกลีบดอก 5 กลีบ แฉกคล้ายดาว มีเกสรยื่น
   
ผล    เป็นปุ่มอยู่ตรงกลางผลออกเป็นกระจุก ก้านช่อยาว ลักษณะผลเหมือนรูปครึ่งวงกลมมน ผลสุกมีสีแดง

        ผิวมันเมล็ดสีดำมีร่องตามแนวยาว

การขยายพันธุ์                 ราก ต้นปักชำ เมล็ดแก่

ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์       ฤดูฝน

            
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ตามป่าโปร่งทั่วไป

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบสด จิ้มน้ำพริก จิ้มตำไข่มดแดง

ทางยา           ทั้งต้น ต้มรักษาโรคประดง รากต้มดื่มเจริญอาหาร (มีสารกลุ่มไตรเทอร์ฟินอยด์ซาโปนิน ซึ่งกระตุ้น

                     การนับตัวของมดลูกและพบสาร friedelin มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และสาร Rapanone หรือสามารถต้าน

                     การเจริญของเชื้อโรคเรื้อน)

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์         ทุกฤดู

ที่มาของข้อมูล

กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

 

                                                 
                                                              กลึงกล่อม