ฮ้วนหมู (เหนือ) กระทุ้งหมาบ้า กระทงหมาบ้า เครือเขาหมู มานหูกวาง เถาคัน (ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น   เป็นไม้เลื้อยขึ้นพันไม้อื่น ไม้เถาเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ เปลือกสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อน และใบมีขนสั้นๆ

        ประปรายหรือเกลี้ยง เถามียางขาวๆ
ใบ    ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน รูปไข่กว้าง 4- 10 ซม.ยาว 6-14 ซม. ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ขอบใบเรียบ

        โคนใบตัดกลม หรือเว้า เนื้อ ใบหนา ด้านล่างสีอ่อน ก้านใบยาว 2.5-5.5 ซม.
ดอก  สีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ แต่ละช่อ มีดอกจำนวนมาก ก้านช่อยาว 2.5-7.5 ซม. 

         ก้านดอกยาว 1.2-2.5 ซม. เรียวเล็ก กลีบรอง กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 2 มม. 

         กลีบ ดอก5 กลีบ ยาวประมาณ 2 มน. กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันเป็นท่อที่โคนกว้าง 1.2 ซม. เส้นเกสร 5 กลีบ 


ผล    เป็นฝักคู่หรือเดี่ยวรูปหอกกว้าง 16-30 มน. ยาว 7.5-10 ซม.มีสีเหลือง เมล็ดมันเป็นเงา รูปรีกว้าง

         หรือรูปไข่ยาว 1.2 ซม. มีปีกกว้าง

การขยายพันธุ์             เมล็ด ปักชำเถาแก่ เพาะชำราก

         

ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูหนาว
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
พบตามป่าดงดิบและพบทั่วไปตามชายป่าละเมาะ ริมน้ำ
กา
รใช้ประโยชน์

ทางอาหาร แกงแคร่วมกับผัก ชนิดอื่นๆ หรือนำมาแกง ผักรวม

ทางยา         ลำต้น ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ปวดศีรษะเชื่องซีม แสบร้อนหน้าตา ช่วย ให้นอนหลับ

                   ใบ แก้แผลน้ำร้อนลวก แก้ บวม แก้ฝี รากทำให้อาเจียน ขับพิษได้เช่นเดียวกับเถา กระทุ้งพิษ


ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์        ตลอดปี



ี่ที่มาของข้อมูล

กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
                                             
                                                       กระทุงหมาบ้า