ชื่ออื่น จี๋กุ๊ก (แพร่) กระทือดง (กาญจนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น ลักษณะคล้ายต้นข่า สูงประมาณ 1-2 เมตร แตกแขนงเป็นกอ ใบ ใบยาวประมาณ 1-15 ฟุต กว้าง 10-12 ซม. หน้าใบเห็นเป็นรอยเส้นจัดเจนมีสีเขียว ส่วนหลังใบมีสีเขียวหม่น อ่อนนุ่มเต็มหลังใบ(ทั่วๆ ใบคล้ายใบของขมิ้น)
ดอก ออกจากเหง้า-ราก โคนต้น มีสีแดงอมเหลืองอ่อนๆ กลิ่นหอมฉุน ดอกบานจะมีกลีบดอกแตกออกเป็นช่อๆ สีขาวอมเหลือง
การขยายพันธุ์ แยกหน่อ เหง้า / ราก
ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูฝน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นตามที่เย็นชื้นการใช้ประโยชน์
ทางอาหาร ดอกตูม นำมาแกงผักรวม แกงใส่ หน่อไม้ ลวกจิ้มน้ำพริก รับประทานเป็นผักสด
ทางยา มีสรรพคุณ ขับลมในกระเพาะได้ดี
ที่มาของข้อมูล
กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กระทือป่า