ชื่ออื่น    กะตังใบ เขือ เขืองแข้งม้า กะลังใบ ตองต้อม (เหนือ) ผักเกี๋ยงข้าวไหม้ (แพร่) บังบาย (กระบี่) บังบายต้น (ตรัง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  
 
ต้น   เป็นพุ่มขนาดย่อม สูงประมาณ 5 ฟุต ต้นที่มีอายุมากๆ สูงถึง 2-3 เมตร
ใบ    ใบประกอบ ใบย่อย รูปไข่ปลายแหลม 3-5 ใบ คล้ายใบกระท่อม ขอบใบจักร มีสีเขียว จัดเหลือบขาวมัน
  
         ตามต้นและกิ่ง มี ครีบ โดยรอบคล้ายฟันเฟือง
ดอก  เป็นช่อแบน คล้ายดอกเถาคัน แต่โตกว่า ดอกตูมมีสีเขียว ออกดอกบริเวณยอด เมื่อบานสีขาว
การขยายพันธุ์                     แยกหน่อและเมล็ด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม      เกิดตามป่าดงดิบ และป่าโปร่งทั่วไป




การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ยอดอ่อน รสฝาดมัน รับประทานเป็นผักสด เป็นผักจิ้ม

ทางยา         ราก รสเย็นเมาเบื่อ แก้ไข้ ขับเหงื่อ แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ครั่นเนื้อครั่น ตัว ดับร้อน
     

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์        ตลอดปี


ที่มาของข้อมูล

กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

 

 
            

 

                                                 
                                                              กระตังบาย