ชื่ออื่น   ภาคเหนือเรียกว่า ผักขี้หูด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น ผักขี้หูดเป็นไม้ล้มลุก 1 ปี หรือ 2 ปี สูง 30 - 90 ซม.
ใบ    ใบมีรูปร่างคล้ายใบผักกาด ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย สีเขียว ส่วนปลายของใบยาวได้ถึง 20 ซม.
        
        ส่วนข้างของใบมี 1-3 คู่
ดอก  เป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กน้อย สีขาวอมม่วง กว้าง 8-10 มม. ยาว 10-30 ซม.
ฝัก ขนาดเล็กขนาด 0.4 ซม. ยาว 7-8 ซม. ภายในเมล็ด 1-6 เมล็ด ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด มักปลูกในช่วงฤดูหนาว บริเวณภาคเหนือ

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ดอกและฝักอ่อนรับประทานเป็นผักได้ บางแห่งรับประทานสด โดยเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก แต่ส่วนมากจะนำไปต้มกับน้ำพริก เช่น น้ำพริกอ่อง เป็นต้น นอกจากนี้ ผักขี้หูดยังนำไปเป็นผัก สำหรับแกงแคของภาคเหนืออีกด้วย



ที่มาของข้อมูล
กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
Paak khee hood a wild kind
          
                                       
                                                 ผักขี้หูด PAAK KHEE HOOD