ชื่ออื่น   ผักขม สะเดาดิน ผักขวง ผักขี้ขวง (เหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น   เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ต้นเตี้ยๆ แตกกิ่งก้านแผ่กระจายออกไปโดยรอบติดดิน
ใบ    ใบเล็กยาวเรียว ออกตามข้อๆ ละ 4-5 ใบ ขอบใบเรียบ ใบกว้าง 0.2-0.5 ซม. ยาว 1-2.5ซม. ก้านใบสั้น
ดอก  ออกรอบๆ ข้อ 4-6 ดอก ก้านดอกยาว 0.6-1.2 ซม. กลีบดอกมี 5 กลีบ ยาว 0.3 ซม. สีขาวอมเขียว

ผล รูปยาวรี ยาวประมาณ 0.3 ซม. เมื่อแก่จะแตกเป็น 3 แฉก ภายในมีเมล็ดมากมาย เมล็ด สีน้ำตาลแดง มีขนาดเท่าเมล็ดทราย
การขยายพันธุ์ ขึ้นเองตามธรรมชาติ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูร้อน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างริมฝั่งแม่น้ำปิง ตามที่ลุ่มแฉะริมลำธารแม่น้ำ หัวไร่ปลายนา การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร นำใบและต้น มาแกงกับปลาทูนึ่ง ลวกจิ้มน้ำพริก
ทางยา ทั้งต้น บำรุงน้ำดี แก้ไข้ ไข้เหนือ ไข้เพื่อดีพิการ ดับพิษร้อน ตำกับขิงสดปิดกระหม่อมเด็กแก้หวัด ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน

 


 

ที่มาของข้อมูล

กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

 

                                                 
                                                                   ผักขี้ขวง