ชื่ออื่น   ผักคาวตอง (เชียงใหม่) พลูคาว (กลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น   เป็นไม้เลื้อยขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-12นิ้ว มีลำต้นตั้งตรง สีเขียวอมม่วง ส่วนที่เลื้อยทอดไปตามดินจะมีรากแขนงออกตามข้อ
ใบ    ใบเดี่ยวรูปไข่สีเขียวอมม่วง หนากลมเรียงสลับ ปลายใบแหลมและหนา ยาว 1-1.5 นิ้ว
ดอก  ขยี้ดมจะรู้สึกเหม็นคาวเหมือนคาวปลาช่อนออกเป็นช่อตรงปลายยอด ประกอบด้วยดอกที่ไม่มีก้านดอก 
         
         มีขนาดเล็กและไม่มีกลีบ แต่มีกลีบเลี้ยงสีขาว เกสรเป็นกระจุกสีเหลืองนวล
ผล เป็นผลแห้งแตกได้ การขยายพันธุ์ หน่อหรือกิ่งที่มีรากงอกนำมาปักชำ ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ตลอดปี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไม้ที่ชอบที่ลุ่มที่มีความชื้นสูง ขึ้นเองตามธรรมชาติตามริมห้วย ลำธาร และที่ชื้นแฉะริมน้ำหรือตามโคนต้นไม้
กา
รใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ใช้ยอดอ่อนและใบอ่อน ซึ่งมีรสเผ็ดคาว โดยรับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกปลาร้า
ลาบหมู ลาบเนื้อ ช่วยดับกลิ่นคาว ทางยา ทั้งต้น แก้กามโรค เข้าข้อ แก้โรคผิวหนังน้ำเหลืองเสีย ทำให้แผลแห้ง ฆ่าเชื้อโรคทางเดินปัสสาวะขับปัสสาวะ ทาภายนอกให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนัง ใบ แก้กามโรค ทำให้น้ำเหลืองแห้ง แก้เข้าข้อ แก้โรคผิวหนัง ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ เก็บบริโภคได้ตลอดปี แต่ใบและยอดจะงามในฤดูฝน


ที่มาของข้อมูล


กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

 

                                                 
                                                                   ผักคาวตอง