ขอบเขตของข้อมูล

   ข้อมูลที่มีการรวบรวมจะมีเนื้อหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่  เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน  แม่ฮ่องสอน ตาก 
เศรษฐกิจ
การเงิน
การจ้างงาน
การค้า การลงทุน
ภาวะอุตสาหกรรม
ประชากร
แผนที่
การขนส่ง คมนาคม
การเมืองการปกครอง
สังคม วัฒนธรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

1. ที่ปรึกษาโครงการ           อ.สุนทรี รัถยาอนันต์

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ      ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ
3. หลักการและเหตุผล
           ปัจจุบันประเทศไทยมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอาจนับได้ว่าไทยเป็นด่านหน้าของภูมิภาคนี้ กำลังเปิดกว้างสู่นานาชาติ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทยก็ได้ดำเนินนโยบายพัฒนาภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สามารถเชื่อมโยงเปิดกว้างสู่มิตินานาชาติ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในรูปสามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจพร้อมกันไปในส่วนของภาคเหนือก็มีโอกาสดีกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ และวัฒนธรรมของผู้คนซึ่งมีสายสัมพันธ์สืบสานกันมาช้านาน ระหว่างกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่น่านเจ้ามาสู่สิบสองปันนา มาสู่ล้านนา และล้านช้าง จนมาถึงปัจจุบัน    ได้มีการนำแนวความคิดฟื้นฟูและสถาปนาความร่วมมือ 5 เชียงขึ้นมาใหม่อีกครั้งในอนุภูมิภาคนี้ ระหว่างเชียงใหม่ (ไทย) เชียงราย (ไทย) เชียงตุง (พม่า) เชียงรุ่ง (จีน) และ เชียงทอง (ลาว) ขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจสู่ทศวรรษที่ 21 ต่อไป ภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันภายใต้กระแสสังคมสารสนเทศ ที่ได้มีการพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ข้อมูลข่าวสารนับวันจะมีความสำคัญและมีบทบาทต่อการนำไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งรูปแบบการจัดเก็บและการให้ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การเข้าถึงสารนิเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างทันทีทันใด
           สำนักหอสมุดได้เล็งเห็นความสำคัญของข้อมูลเศรษฐกิจภาคเหนือ จึงมีโครงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาคเหนือตอนบน โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร และหนังสือพิมพ์ที่มีในห้องสมุด นอกจากนี้ทางสำนักหอสมุดยังมีโครงการที่จะรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัด ใกล้เคียง ในแผนงานต่อไป เพื่อทำให้ศูนย์ข้อมูลนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้ทุกประเภท
4. วัตถุประสงค์
     4.1 เพื่อจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลทางด้านภาคเหนือในรูปแบบดิจิตอล
     4.2 เพื่อจัดทำฐานข้อมูลด้านภาคเหนือ
     4.3 เพื่อให้บริการข้อมูลทางด้านภาคเหนือ
5.บุคลากร
    ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ  มีบุคลากรที่ทำหน้าที่ในด้านการผลิตและการให้บริการ ดังนี้
     5.1 บรรณารักษ์ จำนวน 1 คน
     5.2 เจ้าหน้าที่ จำนวน 1 คน
6. ขอบเขตของข้อมูล
     ข้อมูลที่มีการรวบรวมจะมีเนื้อหาครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่
เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน 
แม่ฮ่องสอน ตาก โดยรวบรวมข้อมูลทางด้านต่าง ๆ ดังนี้
     6.1 เศรษฐกิจ การเงิน
     6.2 การจ้างงาน
     6.3 การค้า การลงทุน
     6.4 ภาวะอุตสาหกรรม
     6.2
ประชากร
     6.3
แผนที่
     6.4
การขนส่ง คมนาคม
     6.5
การเมืองการปกครอง
     6.6
สังคม วัฒนธรรม
7. การรวบรวมข้อมูล
   
7.1 รวบรวมข้อมูลที่มีทั้งในวัสดุสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ ที่มีในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ
     7.2 รวบรวมข้อมูลที่มีทั้งในวัสดุสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ ที่มีในแหล่งสารนิเทศอื่นๆ
8. การบริการ
  
  8.1 บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
      8.2
บริการรวบรวมบรรณานุกรม
      8.3
บริการการอ่าน
      8.4
บริการค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยระบบ OPAC (Online Public Access Catalog)
      8.5
จัดแสดงหนังสือใหม่   
9. แผนการดำเนินการ
  
  9.1 กำหนดขอบเขตของสารนิเทศทางด้านภาคเหนือ
      9.2
สำรวจแหล่งสารนิเทศที่มีในสำนักหอสมุด และแหล่งสารนิเทศอื่นๆ
      9.3
จัดทำฐานข้อมูล
      9.4
ให้บริการ
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
       10.1 สำนักหอสมุดมีศูนย์ข้อมูลภาคเหนือในรูปแบบดิจิตอล
       10.2
สำนักหอสมุดสามารถให้บริการ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับภาคเหนือแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว