ชื่ออื่น มะค้อนก้อม (ฝักของต้นมะรุม) ผักอีฮุม(ยอดอ่อนของต้นมะรุม) (ภาคเหนือ) มะรุม (กลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร
ใบ ใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20-40 ซม. ออกเรียงแบบสลับใบย่อยยาว 1-3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวในด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อย ใบย่อยยาวขนาดที่เป็นใบอ่อน
ดอก เป็นดอกช่อสีขาว ออกที่ซอกวงกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ แยกกัน ผล เป็นฝักยาวเปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะๆ ตามความยาวของฝัก เป็นเหลี่ยม ฝักยาว 20-50 ซม.
เมล็ด เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีเส้นผ่า ศูนย์กลาง 1 ซม. การขยายพันธุ์ เมล็ดและปักชำกิ่ง
ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูร้อน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง
การใช้ประโยชน์
ทางอาหาร ยอดและดอกอ่อน นำมาต้มให้สุกรับประ -ทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกปลาร้า หรือน้ำพริกตาแดง ฝักอ่อนมาแกงกับปลาย่าง แกงกับกระดูกซี่โครงหมู หรือเนื้อหมู
ทางยา ใบ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ตำพอกรักษาบาดแผล ดอก ขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง เมล็ดดับพิษร้อนถอนพิษไข้
แก้ปัสสาวะพิการ เปลือกต้นขับลมในลำไส้ แก้ฝี แก้พยาธิ ยาอายุวัฒนะ กระพี้ แก้ไข้สันนิบาดเพื่อลม รากกระตุ้นหัวใจ
บำรุงกำลัง แก้บวม บำรุงไฟธาตุ
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว
|
ที่มาของข้อมูล
กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
มะค้อนก้อม(มะรุม) |