ชื่ออื่น   ภาคเหนือเรียกว่า มะแคว้งกูลา ภาคกลางเรียกมะเขือพวง ชาวเขาเผ่าม้ง เรียกว่า มะแคว้งกูลัว ปอลอ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น   เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง ตามลำต้นและใบมีขนและหนามเล็กๆ
ใบ    มีขนและหนามเล็กๆ ใบเป็นรูปรี สีเขียว ปลายใบแหลม ขอบใบจักเว้าเล็กน้อย 

ดอก มีสีขาว เกสรสีเหลือง ออกเป็นช่อที่ยอดใบ
ผล ทรงกลม มีขนาดเล็ก เปลือกสีเขียว ผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ผลสุกสีเหลืองส้ม
ภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลจำนวนมาก
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขึ้นเองตามป่าและพื้นที่รกร้างตามบ้าน

การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ผลอ่อนรสฝาดออกขื่นเล็กน้อย ต้มกินเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกต่างๆ กินสดกับลาบ ก้อย ป่น

นำไปบุบใส่แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงแค แกงป่า แกงคั่ว แกงอ่อม และน้ำพริกกะปิ ทางยา ลำต้น ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ปวด ฟกช้ำ ใบ ทำให้เลือดลมหมุนเวียนดี แก้ฝีบวม
แก้เมา แก้เบาหวาน ผล แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ทำให้เลือดลมหมุนเวียนดี ช่วยย่อยอาหาร
ราก ขับเสมหะ แก้ไข้ ใบสดและรากสด นำมาตำพอกแผลแตกบริเวณเท้า เมล็ด นำมาเผาไฟเอาควันสูดดมแก้ปวดฟัน

ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์         มะเขือพวงให้ผลในช่วงฤดูฝน




ที่มาของข้อมูล

กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. Ma waeng Ma waeng is a kind of eggplant. There are two main varities of ma weng, ma waeng ton and ma waeng krua. Ma waeng ton is small bush. The fruits are rather round and small. The skin is smooth
and green when unripe and turns red when ripe. Each fruit has many seeds. Ma waeng krua is a climber.
It has round and smooth fruits that are green in colour with white lines turns red when ripe. Each fruits has
many seeds. Both varieties have a bitter taste. The plants are propagated through seeds. They fruit mostly
during the rainy season. (Appoximate size of the fruit is 1 to 1.5 cm. in diameter.)

ที่มาของข้อมูล

ระพีพรรณ ใจภักดี. 2544. ผักผล. กรุงเทพฯ : แสงแดดเพื่อนเด็ก.

 

    

 

                                                 
                                                        มะแคว้ง MA WAENG