ชื่ออื่น ครุฑทอดมัน ครุฑใบเทศ เล็บครุฑฝอย(กรุงเทพฯ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น ลำต้นอาจสูง 2.5 เมตร ลำต้นส่วนยอดสีเขียวอมน้ำตาลเกือบดำ มีกระสีน้ำตาลอ่อนตามกิ่งมีรูอากาศเห็นได้ชัด
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ติดกับกิ่งแบบบันไดเวียนความยาวของใบแตกต่างกันใบย่อยมีรูปร่างและขนาดต่างๆ กัน
รูปขอบขนานรูปหอกแคบกว้าง 0.5-4 ซม. ยาว 1-12 ซม. ขอบใบหยักลึกแบบฟันเลื่อย หยักแบนขนนก ปลายใบเสี้ยวแหลม
กลมโดนใบแหลมดัดตรง เว้าเป็นรูปหัวใจเส้นกลางใบและเส้นใบเห็นชัด
ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบผสม มีแกนกลางช่อยาว 60 ซม. มีกิ่งแตกออกจากแกนกลางยาว 30 ซม. ดอกติดเป็นกระจุกๆ
แบบดอกผักชีกระจุกละ12.20 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน รูปลูกข่าง ผล ผลรูปเกือบกลม มีเนื้อ เมื่อแห้งมีเส้นผ่าศูนย์ กลาง 5 มม.
การขยายพันธุ์ กิ่งปักชำ
ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูฝนการใช้ประโยชน์
ทางอาหาร นำยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดแกล้มกับลาบ ก้อย นำยอดอ่อนไปชุบแป้งทอดให้กรอบ รับประทานเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก นำยอดอ่อนมาแก่งอ่อม ทางยา ใบ ตำพอกแก้ปวดบวมอักเสบ ทั้งต้นสมานแผล แก้ไข้ ราก ต้มดื่มขับปัสสาวะ ระงับประสาท แก้ปวดข้อ สูดดมขับเหงื่อ
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ตลอดปี
![]() |
![]() |
![]() |
---|
ผักพื้นบ้านภาคเหนือ
เล็บครุฑฝอย |
|