ชื่ออื่น ขี้เหล็กใหญ่ ลำปางเรียกว่า ขี้เหล็กบ้าน ภาคเหนือเรียกว่าขี้เหล็กหลวง เงี้ยว -แม่ฮ้องสอน เรียกว่า ผักจี้ลี้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8 - 15 เมตร มีลักษณธเป็นพุ่มใหญ่แน่นหนา
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ รูปทรงเรียว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ใบอ่อนสีน้ำตาลอมเขียว
ใบแก่จัดสีเขียวอมเทา
ดอก เป็นดอกสีเหลืองออกดอกช่อใหญ่ไปตามปลายกิ่ง กลีบดอกและกลีบรองขนาดเท่ากัน
ผล เป็นฝักรูปร่างแบนหนาสีน้ำตาลคล้ำ
เมล็ด มี 2 แถว ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ตลอดทั้งปี สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นเองตามธรรมชาติ ในป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง และตามบ้านทั่วทุกภาคในประเทศไทยการใช้ประโยชน์
ทางอาหาร ยอดอ่อนและดอกอ่อนนำมาปรุงอาหาร ทำแกงกะทิกับเนื้อย่าง หมูย่าง ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องต้มแล้วคั้นน้ำทิ้ง
2 - 3 ครั้งเพื่อลดความขม
ทางยา ใบ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ รักษานิ่ว แก้ระดูขาวมามาก ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต
ลดความดัน ดอกมีสารจำพวก Chromone ชื่อ Barakol ซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยให้นอนหลับสบาย
ฝัก ภายในฝักมียาฝาดสมาน (tannin) แก้ท้องร่วง และยังมีสารพวก alkoloid ที่ช่วยระบายอ่อนๆ
เปลือกต้น แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร ราก แก้ไข้ ไข้กลับ ไข้ซ้ำ ผสมในยาขับพยาธิ และช่วยระงับอาการชักได้ ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ เก็บบริโภคได้ตลอดปี
|
![]() |
![]() |
ขี้เหล็ก |