เจ้านวลสวาท (ลังกาพินธุ์) เปาโรหิตย์ เกิดที่บ้านห้างนา ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2477 เป็นบุตรีเจ้าเมืองทูล (ไข่)
ซึ่งเป็นบุตรของเจ้ารามจักร ลังกาพินธุ์ และแม่เจ้าเมืองชุม เชื้อเจ็ดตน ส่วนมารดาของเจ้านวลสวาท คือ เจ้าแก้ววรรณา (จันหอม) ลังกาพินธุ์ ธิดาของเจ้าคำมุง ลังกาพินธุ์ และ
เจ้าแม่ยวงคำ ณ เชียงใหม่ ทั้งเจ้าปู่และเจ้าตาของคุณนวลสวาท เป็นบุตรต่างมารดาในเจ้า เหมพันธุ์ไพจิตร (คำหยาด) ผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 8 เจ้านวลสวาทเป็นบุตรคนที่ 3
ในจำนวนพี่น้อง 7 คน โดยมีพี่ 2 คน คือ เจ้า มาณพ ลังกาพินธุ์ กับ เจ้าลำดวนภักดี และ มีน้องอีก 4 คน คือ เจ้าสงคราม ลังกาพินธุ์ และ เจ้าทับทิมทอง ลังกาพินธุ์
 |
เจ้านวลสวาทใช้ชีวิตเรียบง่ายไม่แตกต่างจากชาวชนบททั่วไป เจ้าพ่อรับราชการเป็นครู เจ้าแม่เป็นแม่บ้าน เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านไร่
เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนป่าซางวิทยา เมื่อจบชั้นมัธยมได้เรียนการตัดเย็บเสื้อผ้าและปักรจักรที่เชียงใหม่ ต่อมาเจ้าพ่อก็ส่ง
ไปเรียนการเรือนที่โรงเรียนสตรีวิสุทธิคาม ของหม่อมหลวงป้อม มาลากุล ณ อยุธยา ในกรุงเทพฯ ในระหว่างนั้นเจ้านวลสวาทได้เรียนพิเศษบัญชีเบื้องต้น
และภาษาอังกฤษด้วย เมื่อจบการศึกษาจึงกลับมาช่วยทำงานที่บ้าน ซึ่งเจ้าพ่อให้ช่วยดูแลกิจการของครอบครัว จำหน่ายไม้ ย่อยหินส่งกรมทางหลวงทำ
ถนนสายลำพูน เชียงใหม่ ส่งเสาโทรเลข ส่งหมอนรถไฟ ไร่ส้มเขียวหวาน ดูแลตลาดสด ตลอดจนช่วยเจ้าแม่ดูแลน้องๆ เมื่อมีการประกวดนางสาวถิ่น
ไทยงามที่เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2496 ได้มีผู้ทาบทามเข้าประกวดในนามของกรมทางด้วยเหตุผลว่าขอไปประกวดเป็นเพื่อรสาวในหมู่บ้านเดียวกันด้วย
ความเกรงใจผู้ใหญ่ เจ้าพ่อจึงอนุญาตให้เข้าประกวด
|
|
เจ้านวลสวาทได้รับตำแหน่งเป็นนางสาวถิ่นไทยงามในปีนั้น และในปีต่อมาทางจังหวัดเชียงใหม่ก็ได้ส่งประกวดนางสาวไทยที่กรุงเทพฯ
โดยมีภรรยาผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดูแลและเจ้านวลสวาทก็ได้ตำแหน่งรองนางสาวไทย อันดับหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีที่คุณ อนงค์ อัชวัฒนา
ได้เป็น นางสาวไทย และคุณ อมรา อัศวนนท์ ได้เป็นรองอันดับ 4ในปีเดียวกัน เจ้านวลสวาทได้แสดงภาพยนต์เรื่อง กังวานไพร ของกรมป่าไม้ เพื่อ
ช่วยรณรงค์การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า เมื่อเจ้านวลสวาทกลับมาบ้านก็ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาเปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายที่เจ้านวลสวาท
ออกแบบลวดลายและสีสีนด้วยตนเองนำมาตัดเสื้อสำเร็จรูป ปลอกหมอน ของใช้ในบ้านและของที่ระลึกต่างๆนอกจากนั้นต้องทำหน้าที่นางงามขวัญใจ
ประชาชน ต้อนรับผู้คนที่แวะเยี่ยมเยียนอำเภอป่าซางทำให้อำเภอป่าซางเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ
เมื่อปีพ.ศ. 2502 เจ้านวลสวาทได้สมรสกับนายประโพธ เปาโรหิตย์ บุตรเจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์) และคุณนายกลีบ
(โปษยานนท์)เปาโรหิตย์ แล้วติดตามสามีไปอยู่กรุงเทพฯ และไม่มีบุตรธิดาด้วยกันจึงได้รับเอานายศักดา ภักดี ผู้เป็นหลาน (บุตรเจ้าลำดวน คุณยง ภักดี)
มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม ปี พ.ศ. 2526 เจ้านวลสวาทกับคุณประโพธ ได้ย้ายภูมิลำเนากลับมาอยู่ที่บ้านทับพญา ริมน้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่
(คุณประโพธได้ถึงแก่กรรมเมื่อต้นปี พ.ศ. 2537) ซึ่งเจ้านวลสวาทยังคงทำบุญกุศลและทำงานเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง
เจ้านวลสวาทเริ่มมีอาการป่วยเป็นโรคตับแข็งเนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2540 และได้รับการรักษาด้วยยาอยู่ตลอด
และต้องเข้ารักษาตัวที่โรงบาลราชเวชเป็นบางครั้ง แต่เจ้านวลสวาทยังคงทำงานช่วยเหลือสังคมอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งมีอาการไออย่างหนักจนต้องเข้าพัก
รักษาตัวที่โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 แพทย์ตรวจพบเลือดออกในปอด ตับวายและถึงแก่กรรมอย่างสงบ
เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เวลา 03.38 รวมอายุได้ 69 ปี
|
|
|
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือมหาวิทยาลัยพายัพ นำโดย ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด นาง มยุรี ยาวิลาศ
และ อาจารย์ สุนทรี รัถยาอนันต์ เข้าเยี่ยมคุณลำดวน ภักดีและชมบ้านคุณนวลสวาท "เฮือนคำมุง" พร้อมทั้งรับมอบหนังสือของคุณประโพธ - คุณนวลสวาท เปาโรหิตย์
ซึ่งบริจาคหนังสือหายากให้กับศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ
|
ที่มาของข้อมูล
อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ คุณนวลสวาท (ลังกาพินธุ์) เปาโรหิตย์
ณ สุสานสันกู่เหล็ก วันที่ 8 มีนาคม 2546.กรุงเทพ : บัวหลวงการพิมพ์.