ชื่ออื่น   อาวขาว (เชียงใหม่) กระเจียวโศก ดอกดิน กระชายดง (เลย)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น กระเจียวแดงเป็นพืชป่ามีลำต้นอยู่ใต้ดินสูง 30-40ซม.
ใบ    คล้ายใบกระชายใบเรียวยาว30-40ซม
ดอก  มีกลีบซ้อนกันจำนวนมากกลีบเลี้ยงสีแดงฤดูแล้งต้นจะโทรม 

ผล     ผลแห้งแตกได้ รูปไข่กลับ มีขน

การขยายพันธุ์ เหง้า
ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูหนาว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม บริเวณป่าโปร่งหรือใต้ร่มเงาของไม้ใหญ่บริเวณหัวไร่ปลายนา


กา
รใช้ประโยชน์

ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลหน่ออ่อนดอกอ่อนและแก่พบในช่วงฤดูฝนถึงกลางฤดูฝน
การปรุงอาหาร"ดอกกระเจียวแดงมีจำหน่ายในตลาดดในหลายท้องถิ่นของภาคอีสานมักบริโภคทั้ง
กระเจียวดอกแดงและกระเจียวดอกขาวหน่ออ่อนของกระเจียวแดงรับประทานกับน้ำพริกลาบก้อย
สัมตำก็ได้ส่วนดอกอ่อน(หากเป็นดอกขนาดกลางหรือแก่มักดึงกลีบที่แก่ทิ้งไป)นำมาลวกให้สุกรับ
ประทานกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกงโดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแกงรวมกับผักหวานปลาย่างและเครื่องแกงได้ ทางยา หัวกระเจียวแดงอ่อนต้มกันน้ำมีสรรพคุณขับลม
 
ที่มาของข้อมูล

กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.


 

                                                 
                                           กระเจียวแดง