พุ้มท้าง คือ การทำนบขนาดเล็ก ที่จะปิดกั้นน้ำในลำเหมืองให้เอ่อขึ้นแล้วไหลเข้าไปในนาของชาวนาแต่ละคน นาแต่ละแปลงจะมีพุ่มหนึ่งแห่ง มีการปิดกั้นเป็นบางเวลา หากนาของใคร
ได้รับน้ำเพียงพอแล้วจะ "ข่างพุม" คือ เปิดทำนบให้น้ำไหลเวียนไปตามลำเหมืองเข้าในนาของที่คนอื่นต่อไป
ท้าง คือ ร่องน้ำที่เป็นทางน้ำเข้าในนาของแต่ละแปลงหรือแต่ละไร่ สันนิษฐาน ว่าจะเป็นทางมาแต่เดิมภายหลังเรียกทางน้ำว่า ห้างน้ำกันทัวไป
|
พิธีกรรมในการปูชา
เครื่องพิธีกรรมที่สำคัญในการสังเวยแม่โพสพและท้าวจตุโลกบาล
1. ทำตั่งข้าวแฮกไว้เพื่อเป็นที่วางเครื่องบวงสรวง 2. ไม้ไผ่รวกตัดทั้งลำไม่ตัดกิ่งตัดใบ 3.ทำเฉลว ซึ่งล้านนาเรียกว่าตาแหลว เพื่อเป็นเคื่องป้องกันอันตรายต่างๆคือตามคติไทยว่าเทพยดาเจ้าในทิศทั้ง8 จะเป็นผู้คุ้มครองสถานที่ถือตามคติพุทธศาสนา มีมโน8ทิศ ซึ่งกราบไหว้นมัสการต่อเทพยดาทั้งหลาย ถือตามคติจีน
ได้แก่เซียน8องค์
4.สังวาลย์ คือ ห่วงไม้ไผ่สานเป็นห่วงคล้องกัน ใช้แขวนกิ่งไม้ไผ่เป็นเครื่องทำนบน้ำมากน้ำน้อยโดยชาวนาสุ่มเอาว่า
ปีนี้ชาวนาทั้งหลายแขวนสังวาลย์สูง น้ำจะมาก หากแขวนต่ำเป็นส่วนมากน้ำจะน้อย 5.รูปปลา เขาจะทำปลาไม้ 2-3 ตัว แขวนกับกิ่งไม้ไผ่เป็นเครื่องแสดงถึงว่าในน้ำในนานี้อุดมสมบูรณ์
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว 6.ทำแท่นบูชาท้าวทั้งสี่ คือ ท้าวจตุโลกบาล ได้แก่ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ ท้าวกุเวร
ยังเพิ่มพระอินทร์และแม่นางธรณีด้วย 7.ทำส้อหล้อ คือ เอาไม้ไผ่มาผ่าแล้วสานให้มีปากแบนขยายออกใช้เป็นที่วางภาชนะ เช่น หม้อน้ำ |
การบูชาพระแม่โพสพนั้น เจ้าของนาจะเตรียมเครื่องสังเวยประกอบด้วยสะตวง หรือกระทงใส่เครื่องสังเวยต่อไปนี้ สะตวงอาหารคาว สะตวงอาหารหวาน
หมาก พลู บุหรี่ กล้วย อ้อย ดอกไม้ ธูปเทียน กระทงนี้ใช้สำหรับสังเวยแม่โพสพ เทพธิดาผู้ให้กำเนิดข้าว ด้วยการว่าคำโวหารขออัญเชิญให้มาขุมขางรักษา
ข้าวกล้าในนามิให้เกิดอันตราย แล้วนำกระทงขึ้นวางบนส้อหล้อเครื่องสังเวย
การบูชาท้าวจุโลกบาล ทั้ง 4 เตรียมเครื่องสังเวย 4 จำนวน 6 กระทง คือ ข้าวสุก อาหารหวาน คาว หมากพลู บุหรี่ กล้วย อ้อย มะพร้าว ผลไม้ ทั้งหมดนี้อย่างละ 4 อันใส่ในกระทงสังเวย ขณะที่บูชาสังเวยแม่โพสพแล้ว ปู่อาจารย์จะเป็นคนเชิญท้าวทั้ง4 มารับเครื่องสังเวยต่อไป สำหรับ ตาแหลว หรือเฉลวนั้น เมื่อถึงฤดูปลูกข้าวเสร็จจากหว่านหรือปักดำแล้ว ชาวนาจะนำตาแหลวนี้ไปปักที่หัวนาตามประเพณ ีที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิมในตำนานเมืองระมิงค์ กล่าวว่า "เมื่อเตรียมการเสร็จแล้ว พ่อขุนหลวงมิลักขะ ผู้เป็นประธานในพิธีอ่านโอ่งการบวงสรวง
พระธรณี เจ้าที่ ท้าวทั้งสี่และแม่โพสพเมื่อทำพิธีสักการะบูชาเสร็จแล้ว ก็จะสังเกตุดูสร้อยสังวาลย์ที่ชาวนาทุกคนใช้แขวนในนาของตนบูชา
แม่โพสพเป็นการเสี่ยงทาย เมื่อสร้อยยาวก็ทายว่าปีนี้น้ำท่าจะบริบูรณ์ หากสั้น ปีนั้นน้ำจะน้อยแล้วให้หญิงสาวพรหมจารีนุ่งขาวห่มขาวไปเสี่ยงทายดู
หากได้คู่ก็ทายว่าปีนี้ข้าวกล้าในนาจะได้ผลเต็มที่ หากได้เม็ดคี่ ก็ทายว่าปีนั้นจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ข้าวที่เอามาเสี่ยงทายนี้จะหว่านในบริเวณพิธี แฮกนานั้น
ยังใช้ปักตามมุมเขตแดนนาของตนทั้งสี่มุมพร้อมกับต้นไม้ชนิดหนึ่ง เรียกว่าเอื้องหมายนา" การบูชาพุมท้าง เทพยดาและแม่โพสพนั้น เป็นการทำตามความคิดคำนึงว่า ข้าวกล้า ธัญญพืชทั้งหลายมีเจ้าของผู้สร้างขึ้น คือ แม่โพสพ ตลอดถึง เทพยดาผู้พิทักษ์รักษา จึงนิยมทำการบวงสรวงอ้อนวนขอการคุ้มครองจากสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นผู้วิเศษ เมื่อทำเรื่อยมาจากปู่ ยา ตา ยาย มาถึงลูกหลาน
จึงเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนกระทั่งสมัยปัจจุบัน
|
|
ที่มาของข้อมูล
มณี พยอมยงค์.2529.ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย.เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์