ชื่ออื่น    ผักขะ ผักหละ ผักละ ผักล่า ผักหา(ภาคหนือ) ผักขา (อุดรธานี) ผักย่า (ร้อยเอ็ด) โพซุยโดะ ผักหมี (ไทยยอง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น    เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดย่อมกิ่งเลื้อยลำต้น และกิ่งก้านมีหนามแหลมอยู่ทั่วไปลำต้นเลื้อยสีขาว
ใบ    เป็นใบประกอบ มีก้านใบจะแยกออกเป็นใบอยู่ 2 ทาง จะมีลักษณะคล้ายใบส้มป่อยหรือใบกระถิน ใบอ่อนมีกลิ่นฉุน 
        
        ใบเรียงสลับ ใบย่อยอยู่ตรงข้ามกันมี 13-18 คู่
ดอก  ลักษณะคล้ายดอกกระถินออกที่ซอกใบสีขาวนวลหรือขาว ดอกขนาดเล็ก จะเห็นชัดเจนเฉพาะเกสรตัวผู้เป็นเส้นฝอย    
การขยายพันธุ์                     ตอน ปักชำ เพาะเมล็ด
ฤดูเก็บส่วนขยายพันธุ์ ทุกฤดู สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ขึ้นได้ในสภาพทั่วไปๆ ไป ทนแล้งได้ดี
การใช้ประโยชน์

ทางอาหาร กินยอดอ่อนได้ทั้งสดและลวก ยอดอ่อนแกงกับหน่อไม้ แกงเห็ด ทางยา เปลือก ชะอมผสม สะเดา ฟ้าทะลายโจรบดให้เข้ากันเป็นยาขับพยาธิ ต้มน้ำกินเป็นยาขับลมเปลือกใช้แทนผลชูรส

รากของชะอม สรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ทุกฤดู

ข้อควรระวัง หญิงลูกอ่อนไม่ควรกิน ทำให้น้ำนมแห้ง


ที่มาของข้อมูล

กัญจนา ดีวิเศษ และคนอื่นๆ. 2542. ผักพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

 

Cha Om

           Cha Om , Paak La in northern speech, is a forest tree with unusal new growths on its spring stems.

The leaves are bluish - green and look like hair when they first emerge. It is extremely versatlie and can be

used in curries, as a Naam Priks dipping vegetable .

ที่มาของข้อมูล

ระพีพรรณ ใจภักดี. 2544. ผักผล. กรุงเทพฯ : แสงแดดเพื่อนเด็ก.

 
            

 

                                                 
                                                 ผักหละ (ชะอม) CHA OM