การทำบุญทานสลากภัตร นับเป็นประเพณีที่สำคัญของล้านนาไทยประการหนึ่ง เนื่องจากค่านิยมที่สืบทอดทำมาแต่โบราณจนกลายเป็นประเพณีสืบมาช้านาน คือ
1. ประชาชนว่างจากภาระกิจการทำนา
2. ผลไม้ เช่น ส้มโอ, ส้มเขียวหวาน,ส้มเกลี้ยง กำลังสุก
3. ประชาชนหยุดพักไม่เดินทางไกลเพราะเป็นฤดูฝน 4. พระสงฆ์จำพรรษาอยู่อย่างพรักพร้อม 5. ได้โอกาสสงเคราะห์คนยากจนเป็นสังคหทาน
6. ถือว่ามีอานิสงส์แรง คนทำบุญสลากมักจะมีโชคลอยมา
7. มีโอกาสหาเงินและวัสดุบำรุงวัด ด้วยเหตุผล 7 ประการนี้ ชาวล้านนาจึงนิยมทำบุญสลากภัตรกันเกือบทุกวัน มีแต่ว่าหากวัดใดมีงานตั้งธรรมหลวง (ฟังมหาชาติ) วัดดนั้นจะเว้นจากการทำบุญสลากภัตร
![]() |
ประเพณีถวายสลากภัตรหรือประเพณีถวายเข้าสลาก หรือ กินก๋วยสลากนั้น ทำกันมาตั้งแต่เดือน 12 เหนือเพ็ญ เรื่อยมาจนถึง |
ก่อนวันทำพิธี "ทานก๋วยสลาก" 1 วัน เรียกว่า "วันดา" คือเป็นวันจัดเตรียมสิ่งของเครื่องไทยทาน พวกผู้ชายจะจักตอกสาน "ก๋วย"(ตะกร้า) ไว้หลายๆใบทางฝ่ายผู้หญิงก็จะจัดเตรียมห่อ
ของกระจุกกระจิก เช่น ข้าวสาร พริก หอม กระเทียม เกลือ กะปิ ปลาร้าขนมข้าวต้ม และอาหาร เช่น ห่อนึ่ง, จิ้นทอด, หมาก, เมี่ยง, บุหรี่ , ไม้ขีดไฟ, เทียนไข ,สีย้อมผ้า ผลไม้ต่างๆ ,
เครื่องใช้สอยสิ่งของต่างๆเหล่านี้จะบรรจุลงในก๋วยซึ่งกรุด้วยใบตอง หรือกระดาษสีต่างๆ เมื่อจัดการบรรจุสิ่งของต่างๆลงในก๋วยเรียบร้อยแล้วก็จะเอา"ยอด" คือ สตางค์หรือธนบัตร
ผูกติดไม้เรียวเสียบไว้
เส้นสลาก ผู้เป็นเจ้าของก๋วยสลาก จะต้องเอาใบลานหรือกระดาษมาตัดเป็นแผ่นยาวๆ จารึกชื่อเจ้าของไว้และบอกด้วยว่า อุทิศส่วนกุศลนั้นให้ใครบ้าง |
![]() |
ที่มาของข้อมูล
มณี พยอมยงค์.2529.ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย.เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์
ประเพณีทานสลาก คือ การทำบุญสลากภัตรในล้านนาไทย มีเรียกชื่อแตกต่างกัน ไปตามท้องถิ่น บางแห่งว่า "กิ๋นก๋วยสลาก" บางแห่ง "กิ๋นสลาก" บางแห่งว่า "ตานก๋วยสลาก" |
|