ที่มาของข้อมูล
วิเวศ วัฒนสุข. 2549. 8 ทศวรรษดอกเอื้องเวียงพิงค์สายสัมพันธ์แห่งอารยธรรม.กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
สุมิตรา กัญชนะ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๙๒ |
|
....... สุมิตรา งามสง่าดังหยาดฟ้ามาดิน สำอางสิ้นเสน่ห์โฉมชวนมอง เนตรคมวับจับแสงแห่งแววดาว เกศสยายยาวดังไทยย้อยเยือนลมพักตร์
พริ้มยิ้มพรายย้างย้ายใครจะข่ม และตะลึงรื่นรมย์โฉมงามเวียงพิงค์ .........
|
|
![]() |
เสียงเพลงชมโฉมสุดยอดแห่งความงามของสตรีเวียงพิงค์จากการบรรเลงของวงดนตรีธนาคารออมสินก้องกังวานขึ้นหลังจากการประกาศผล นางงามผู้ชนะเลิศประจำปีสาวงามผู้สวมมงกุฎผู้มีใบหน้าคมคาย เรือนร่างอรชรได้เดินอวดความงามให้ผู้เข้าชมการประกวดอย่างเนืองเน่นล้นสถานที่ จัดการประกวดภายในงานฤดูหนาวของจังหวัดเชียงใหม่ประจำปี 2592 ซึ่งได้จัดขึ้นบริเวณโรงเรียยุพราชวิทยาลัย อันเป็นสถานที่จัดการประกวดสาวงาม ประจำจังหวัดที่มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากว่างเว้นมาเกือบ 10 ปี การประกวดนางสาวเชียงใหม่ในยุคที่ 2 นี้ได้จัดขึ้นที่หอประชุมของโรงเรียนยุพราชฯ โดยคุณชาย บุนนาค ผู้จัดการธนาคารออมสินเชียงใหม่ ่ในขณะนั้นเป็นประธานกรรมการกองประกวด การประกวดดำเนินไปอย่างคึกคักแม้ว่าจะมีเข้าประกวดไม่มากนัก เนื่องจากเป็นการรื้อฟื้นการประกวด ขึ้นอีกครั้ง หน่วยงานราชการและเขตอำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ต่างร่วมใจส่ง สาวงามชิงมงกุฎโดยมีสาวงามตัวเก็งเต็งหนึ่งคือนางสาวสุมิตรา กัญชนะ ลูกสาวกำนันคนสวยจากสันกำแพง เป็นผู้ที่ถูกจับตามองที่สุดและมีนางสาวจินดา ขัตฤกษ์ ลูกสาวนายตำรวจเป็นคู่แข่งคนสำคัญ |
ในคืนวันตัดสินผู้เข้าชมต่างเบียดเสียดยัดเยียดเข้าไปชมงานกันเป็นจำนวนมาก จนภายหลังต้องรีเพลย์การประกวดอีกรอบหลังตัดสินนางงามไปแล้ว โดยเดินประกวดเหมือนเดิม ทุกประการอีก 1 ครั้งพร้อมตัดสินระหว่างการประกวดสาวงามผู้เข้าประกวด 30 คน ได้ปรากฎกายในชุดชายหาด (เสื้อแขนกุดคล้องคอ กางเกงครึ่งน่อง) เดินนวยนาดเพื่อให้กรรมการ พิจารณาโดยมี หลวงจักรปราณีศรีศีลวิสุทธิ์ ข้าหลวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการตัดสิน |
ผลที่สุดในการประกวดครั้งนั้นปรากฎว่าสาวงามตัวเก็งอย่างจินดา ขันฤกษ์ ตกรอบไปอย่างน่าเสียดายปล่อยให้คู่แข่งแห่งเมืองสันกำแพงอย่างสาวงามหมายเลข 2 นางสาวสุมิตรา กัญชนะ เป็นผู้ครองมงกุฏและสายนะพายนางสาวเชียงใหม่ 2492 ไปครองและรองนางสาวเชียงใหม่ได้แก่นางสาวพวงแก้ว อุปาละ สาวงามจากบ้านสันเหนือ เขตอำเภอสันกำแพง ผู้ภายหลังได้มาประกวดนางสาวถิ่นไทยงามในปี 2494 และได้เป็นนางสาวถิ่นไทยงามคนแรกของประเทศไทย |
ปราโมทย์ ศิริธร นักหนังสือพิมพ์ชื่อดังในยุคนั้นได้สัมภาษณ์สุมิตราภายหลังรับตำแหน่งถึงความรู้สึกกับการได้เป็นนางสาวเชียงใหม่ สุมิตรายิ้มละไมก่อนเปิดใจว่า รู้สึกดีใจเจ้า และเมื่อถูกถามถึงเรื่องความรัก เธอกล่าวอย่างเอียงอายว่า ข้าเจ้าบ่กึดเตื้อเจ้า... ซึ่งคำตอบของเธอก็ปรากฎเป็นความจริงหลังจากนั้นอีก 2 ปี เธอได้เข้าพิธีสมรสกับนายทองดี พรหมชนะ ทายาทของคหบดีคนดังแห่งเมืองสันกำแพง นั่นเอง |
นางสาวสุมิตรา กัญชนะ ขณะได้รับตำแหน่งเธอมีอายุ 19 ปี ได้รับการทาบทามจากนายอำเภอวิชาญ บรรณโสภิศ นายอำเภอสันกำแพงในขณะนั้นส่งเข้าประกวด ในนามอำเภอ สันกำแพงเธอเป็นบุตรสาวคนโตของคุณพ่อคำอ้ายและคุณแม่บัวเทพ กัญชนะ หลังจากได้สมรสเป็นนางสุมิตรา พรหมชนะแล้วเธอได้ผันตัวเองจากนางงาม มาช่วยครอบครัวสามีในการทำกิจการร้านค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายในตลาดสันกำแพงมีบุตร- ธิดา 4 คน ในระหว่างนั้นนอกจากกิจการร้านผ้าไหมพรหมชนะอันโด่งดังแล้ว คุณสุมิตรายังรู้จักกันในวงสังคมชั้นสูงของชาวเชียงใหม่จากการช่วยเหลืองานด้านสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน และยังได้รับขนานนามวาแม่เลี้ยงสุมิตราจากสื่อมวลชนในยุคนั้น เนื่องจากเธอเป็นผู้ผลักดันให้สาวงามจากอำเภอสันกำแพงหลายคนประสบความสำเร็จในการประกวดนางงามทั้งในเวทีประจำจังหวัดและเวทีระดับชาติ จนกระทั่งปี 2546 คุณสุมิตราได้ล้มป่วยและถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบทำให้หัวใจล้มเหลว รวมสิริอายุได้ 73 ปี |