ขมุ แปลว่า “ คน” เป็นคำที่ชาวขมุใช้เรียกตนเอง คำว่า ขมุ จีงเป็นทั้งชื่อของเผ่าและภาษา ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ของชาวขมุมีคำที่เรียกชาวขมุ
อยู่ 2 คำ คือคำว่า “ ข่า” หมายถึง ข้า ทาส ผู้รับใช้ เป็นคำที่คนลาวทั่วไปใช้เรียกชาวขมุและชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร แต่เป็นคำที่ชาวขมุไม่ยอมรับ มีอีกคำหนึ่งซึ่งเป็นคำที่ทาง
รัฐบาลลาวใช้เรียกชนกลุ่มน้อยเชื้อสายมอญ-เขมร คือคำว่า ลาวเทิง “ ลาวบนที่สูง” ซึ่งเป็นคำที่รวมกลุ่มชนต่าง ๆ ให้เป็นประชาชนลาว โดยใช้คำว่าลาวเทิง เพื่อแยกให้ต่างจากคนที่พูดภาษา
ลาวและตระกูลไทยอื่น ๆ ที่นิยมอยู่ในเขตที่ราบลุ่ม ซึ่งเรียกว่า ลาวลุ่ม และชาวม้งซึ่งเรียกว่า ลาวสูง นโยบายรวมพวกนี้เกิดจากการที่รัฐบาลลาวเห็นความสำคัญของชนกลุ่มน้อยในประเทศซึ่ง
มีเป็นจำนวนมากและเป็นกำลังสำคัญของประเทศในด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุดังนี้ชาวขมุในลาวรวมทั้งชาวขมุที่อพยพเข้ามาในเมืองไทย บางครั้งจึงเรียกตนเองว่าเป็น ลาวเทิงและภาษาลาวเทิง 
 
        
             






         
        






         
           สำหรับในประเทศไทยนั้น คนไทยทางเหนือรู้จักชาวขมุมานานพอสมควร เพราะชาวขมุได้เข้ามาทำงานตามโรงบ่มยา โรงสีทำงานป่าไม้ และทำงานตามบ้าน โดยทำงานบ้านหรือ
เป็นพี่เลี้ยงเด็ก ๆ คนไทยรู้จักทั้งในชื่อว่าข่า และ ขมุ นอกจากนั้นในเอกสารเก่า ๆ และเอกสารทางประวัติศาสตร์ก็จะมีการเอ่ยชื่อขมุในฐานะที่เป็นกลุ่มชนดั้งเดิมกลุ่มสำคัญกลุ่มหนึ่งของ
ดินแดนสุวรรณภูมิ 
            ชาวขมุตั้งถิ่นกระจายอยู่ในพื้นที่กว้างในบริเวณตอนเหนือของอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บริเวณทางเหนือของประเทศไทย
 ทางเหนือของประเทศเวียตนาม ภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และทางใต้ของประเทศจีน จำนวนประชากรชาวขมุ
ทั้งหมดมีไม่น้อยกว่า 600,000 คน ประชากรส่วนใหญ่หรือมากกว่า 500,000 คน อยู่ในภาคเหนือของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย
ประชาชนลาว โดยเฉพาะในเขตอุดมไซ หลวงน้ำทา บ่อแก้ว หลวงพระบาง เชียงขวาง ซำเหนือ พงศาลี ฯลฯสำหรับในประเทศไทยนั้น 
ชาวขมุเป็นชาวเขากลุ่มเล็ก ๆ พบในภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และจังหวัดน่าน ส่วนที่ติดต่อกับสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว และกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดในภาคกลาง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดอุทัยธานี
ีเป็นต้น จำนวนโดยประมาณไม่เกิน 10,000 คน 
              ชาวขมุ แบ่งได้เป็นหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะการใช้ภาษาและวัฒนธรรมความเป็นอยู่ การปฏิบัติตน เช่น การแต่งกาย
 พิธีกรรมต่าง ๆ แตกต่างกันออกไปมากบ้างน้อยบ้างคำที่ใช้เรียกชาวขมุด้วยกันเองแต่ต่างกลุ่มกัน คือคำว่า ตม้อย และถ้าหากต้องการ
เจาะกลุ่ม ก็จะใช้ลักษณะเฉพาะของกลุ่มนั้น ๆ ต่อท้าย เช่น ตม้อยปูลวง (ชาวขมุจากหมู่บ้านปูลวงซึ่งเป็นหมู่บ้านที่อยู่เดิม) ตม้อยดอย
(ชาวขมุจากเขตภูเขา ซึ่งเป็นเขตที่อยู่เดิม) ตม้อยเพอะ (ชาวขมุที่ใช้คำว่า เพอะ แปลว่า “ กิน” ) ตม้อยลื้อ (ชาวขมุที่อยู่ในกลุ่มพวกลื้อ) 
ตม้อยอัน (ชาวขมุที่ใช้คำปฏิเสธว่า “ อัน” ) ตม้อยอัล (ชาวขมุที่ใช้คำปฏิเสธว่า “ อัล” ) ตม้อยอู (ชาวขมุที่อยู่ในเขตแม่น้ำอู) ส่วนการแยก
ชาวขมุออก จากกลุ่มเชื้อชาติอื่น ๆ นั้นจะใช้คำว่า คมุ้ khmu? หมายถึงกลุ่มของตน และใช้คำว่า แจะ หมายถึงกลุ่มอื่น เช่นกลุ่มคน
เชื้อสายไทย ทั้งไทยภาคกลาง ไทยภาคเหนือ (คนเมือง) ลาว ลื้อ และไทยดำ โดยอาจเติมชื่อเฉพาะกลุ่มลงไปด้วยเพื่อให้ชัดเจนเช่น 
แจะคนเมือง แจะลื้อ แจะไทยดำ ฯลฯ และใช้คำว่า แจะแมว เรียกชาวม้ง เป็นต้น

         หมู่บ้านชาวขมุในจังหวัดเชียงรายมีที่บ้านห้วยเย็น และบ้านห้วยกอก อำเภอเชียงของ บ้านห้วยเอียนบ้านห้วยคอย บ้านโละ บ้านป่าตึง บ้านหัวจ้อ กิ่งอำเภอเวียงแก่น เป็นต้น 
ส่วนในจังหวัดน่านมีในหลายเขต ได้แก่ เขตอำเภอเมืองที่บ้านหนองคำ บ้านห้วยไฮ ตำบลฝายแก้ว, บ้านห้วยปุก ตำบลสะเบียน และบ้านหาดปลาแห้ง ตำบลบ่อ เขตอำเภอท่าวังผา
มีที่บ้านห้วยโป่ง บ้านวังผา ตำบลตาลชุม, บ้านปางสา และบ้านน้ำโขง ตำบลผาตอ เขตอำเภอเชียงกลาง มีที่บ้านวังผาง และบ้านปางสา บ้านน้ำโม ตำบลผาตอย, บ้านวังเสา บ้านน้ำ
ปาน บ้านห้วยม้อยบ้านห้วยเลา บ้านห้วยแกลบ บ้านสบพาง บ้านน้ำหลุ และบ้านน้ำหลุใหม่ ตำบลชนแดน เขตอำเภอทุ่งช้าง มีที่บ้านน้ำสอดใต้ ตำบลและ, บ้านห้วยสะแตง บ้านภูคำ
บ้านน้ำลาด ตำบลงอบ และบ้านไชยธงรัตน์ บ้านสบปาง ตำบลปอน และยังมีที่เขตบ้านป่าแพะ อำเภอเวียงสา อีกด้วย สำหรับที่จังหวัดกาญจนบุรีนั้น พบที่อำเภอศรีสวัสดิ์ นอกจากนี้
ยังพบขมุที่จังหวัดสุพรรณบุรีด้วย 

 




ที่มาของข้อมูล
    
สุวิไล เปรมศรีรัตน์. 2541. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ : ขมุ . กรุงเทพฯ : สหธรรมิก.