พ่อครู    บุญศรี รัตนังเกิดวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ เกิดที่บ้านเลขที่ ๘๐ หมู่ ๔ บ้านป่าเหมือด ต. ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 

บิดาชื่อ นาย ดวงคำ มารดาชื่อ นางเตี่ยง รัตนัง มีพี่น้องจำนวน ๔ คน สมรสกับ นาง จิตนา สุริยะ มีบุตร ๒ คน
        
       อยู่บ้านเลขที่ ๘๓ หมู่ ๒ บ้านหนองเต่าคำ ต. ป่าไผ่ อ. สันทราย จ.เชียงใหม่ 
                       จบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนป่าเหมือดวิทยาคารและได้รับแต่งตั้งให้เป็นศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันราชภัฏเชียงใหม่
 - ปี ๒๕๑๓ ฝึกการเป่าปี่คลอการขับซอกับนาย สม บุญเรือง
 - ปี ๒๕๑๔ เริ่มต้นเรียนซอกับพ่อครูจันทร์ตา ต้นเงิน ที่บ้านป่าแงะ ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
            
       ด้านการแสดง
 - ปี ๒๕๑๖ สมัครเล่นเป็นตัวตลกประจำคณะละครซอลูกเอื้อง เมืองเหนือ และร่วมงานกับคณะอำนวยโชว์อยู่ระยะหนึ่ง
 - ปี ๒๕๑๙ ตั้งวงดนตรีพื้นเมืองประยุกต์ชื่อวงลูกทุ่งลานทอง
- ปี ๒๕๒๒ เข้าเป็นช่างซอในคณะศรีสมเพชร ซอคู่ร่วมกับบัวตองเมืองพร้าวจากนั้นได้รับงานซอเป็นระยะๆจนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วภาคเหนือจึงได้ตั้งคณะซอของตนเอง
     
    ชื่อ บุญศรี รัตนัง รับแสดงซอในงานบุญงานประเพณีทั่วภาคเหนือ นอกจากนี้ยังเป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งคำเมืองผลิตเทปซอและเพลงคำเมืองออกมาหลายชุด เช่น ซอชุดมหาชาติ
     
    ซอชุดทรัพย์ ๔ ประการ ซอชุดดาปอย ซอชุดฮ้องขวัญลูกแก้ว ซอเรื่องปู่ย่าสอนหลาน ซอเรื่องเจ็ดกำปีลอม (เจ็ดคัมภีร์รวม) ซอเรื่องแก่หูหวานแก่ลายดอก ซอชุดแห่ครัวทาน
    ด้านผลงานการเผยแพร่ที่สำคัญ
 - ปี ๒๕๓๙ ร่วมแสดงซอในงาน มหกรรมเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก ณ สวนเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง
 - ปี ๒๕๓๙ รณรงค์เรื่องเกลืออนามัยผสมไอโอดีนของสถานีอนามัยบ้านปง ต. อินทขิล อ. แม่แตง จ.เชียงใหม่
 - ปี ๒๕๔๐ เป็นตัวแทนแสดงดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ แสดงในงานอเมซิ่งไทยแลนด์ ทีท้องสนามหลวงและศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
 - ปี ๒๕๔๐ แสดงซอในงานเบิกฟ้าเวียงพิงค์สู่สิ่งแวดล้อมของมูลนิธิ วายเอ็มซีเอ เพื่อการพัฒนาภาคเหนือและร่วมแสดงในงานร่วมใจต้านภัยเอดส์ เนื่องในวันเอดส์โลกที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
 - ปี ๒๕๔๑ เป็นตัวแทนนำศิลปการแสดงพื้นบ้านภาคเหนือร่วมแสดงในงานมหกรรมพื้นบ้านแห่งชาติ จังหวัด อุบลราชธานี
 - ปี ๒๕๔๒ เป็นตัวแทนนำศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคเหนือร่วมแสดงในงานมหกรรมพื้นบ้านแห่งชาติ จังหวัดบุรีรัมย์
 - ปี ๒๕๔๒ เป็นตัวแทนนำศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคเหนือร่วมแสดงในงานมหกรรมพื้นบ้านแห่งชาติ จังหวัดกระบี่
  ด้านการถ่ายทอด/การสืบทอด
 - ปี๒๕๓๕ เขียนเครือซอเป็นคู่มือสำหรับชายและหญิงตอบโต้กัน

- ปี ๒๕๓๗-๒๕๓๙ เป็นวิทยากรประจำศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของโรงเรียแม่หอพระวิทยาคม อ. แม่แตง

- ปี ๒๕๓๙ เป็นวิทยากรในการสัมมนาสื่อชาวบ้าน เพื่อการป้องกันปัญหาโรคเอดส์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนของสำนักงานเยาวชนแห่งชาติ

- ปี๒๕๔๐ ฝึกสอนนักเรียนโรงเรียนสันมหาพน อ. แม่แตง

- ปี ๒๕๔๑ ผลิตหนังสือซอเรื่อง ดาวีไก่หน้อย พร้อมแถบเสียงให้สำนักงานศึกษาธิการอำเภอสันกำแพงใช้เป็นหลักสูตรสอนเยาวชน

- สอนพิเศษที่สำนักศิลปวัฒนธรรมราชภัฏเชียงใหม่และโรงเรียนแม่แก้ดน้อย ต. ป่าไผ่ อ.สันทราย ให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาด้านการซอ

 ด้านบทบาทการยอมรับจากสังคม

- รองประธารสภาวัฒนธรรม อ. สันทราย

- ที่ปรึกษาชมรมสืบสานตำนานปี่ซอเชียงใหม่

- ปี ๒๕๒๖ โล่จากคณะกรรมการสำนักงานเยาวชนแห่งชาติ

- ปี ๒๕๓๓ โล่จากสำนักงานประถมศึกษาอำเภอเมืองเชียงใหม่ เนื่องในวันประถมศึกษาแห่งชาติ

- ปี๒๕๓๓ โล่จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ ในฐานะบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่

- ปี ๒๕๓๗ โล่จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติในฐานะบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับชาติ ภาคเหนือ

- ปี ๒๕๓๗ โล่จากสำนักงานสิ่งแวดล้อม มูลนิธิโลกทัศน์ไทย

- ปี ๒๕๔๐ เกียรติบัตรจากสำนักงานประถมศึกษาอำเภอแม่แตง
- ปี ๒๕๔๐ โล่จากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาคเหนือ

- ปี ๒๕๔๑ เกียรติบัตรจากสภาวัฒนธรรมจังหวัเชียงใหม่
        
       เมื่อวันที่  27 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือมหาวิทยาลัยพายัพ นำโดย ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด  อาจารย์ มยุรี ยาวิลาศและ อาจารย์ อินทราพร ตากันทา 

เข้าเยี่ยมพ่อครู บุญศรี รัตนนัง  พร้อมทั้งเปิดศูนย์สืบสานรอยล้านนาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือฯได้เข้าไปเก็บภาพบรรยากาศ ศูนย์สืบสานรอยล้านนาฯนี้ พ่อครูบุณศรี
ี
เปิดเป็นโรงเรียนสอนดนตรีและศิลปะการแสดงของล้านนา  เพื่อทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาให้กับลูกหลานและผู้สนใจในท้องถิ่น ได้เกิดการเรียนรู้และสืบทอด

ภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นที่มีอยู่ให้มีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถสืบสานได้อย่างต่อเนื่อง  

โดยไม่หวังผลกำไร ซึ่งขณะนี้มีนักเรียน ประมาณ 90 คนที่เข้ามาเรียนในศูนย์สืบสานรอยล้านนาฯ ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ 

     

     

     

     

     



ที่มาของข้อมูล
    
           โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา. 2537. ทำเนียบช่างซอภาคเหนือ. เล่ม 1. เชียงใหม่ : นพบุรีการพิมพ์.