คุณ ทัศนีย์ ยะจา เจ้าของและหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งก่อตั้ง หจก.บ้านศิลาดล เล่าให้ฟังว่า บ้านศิลาดลสร้างจากธุรกิจลักษณะครอบครัวเล็กๆ ในปี 2532 ดำเนินงานโดย
นางสาวกานดา กาญจนากร และตนเอง โดยมีนายประจวบ สุริยะป้อ เป็นทีมงานฝ่ายผลิต ค่อยๆ สร้างทีละน้อยมีสตางค์เท่าไรสร้างเท่านั้น แต่ขณะเดียวกัน เปิดประตูสู่สัมพันธภาพกับ ภาครัฐและภาคเอกชน เพราะเชื่อว่าเอกชนจะพัฒนาธุรกิจได้อย่างไร นั่นคือ จากการมีเครือข่าย
             
            บ้านศิลาดล ธุรกิจเล็กๆ ในครัวเรือนที่พร้อมต่อยอดสู่เป้าหมาย สินค้าทางวัฒนธรรม จากการสร้างจุดขายที่แตกต่าง บนความอ่อนน้อม ด้วยการ
เปิดตัวเอง เชื่อมเครือข่ายภาครัฐ เอกชน สถานศึกษา และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์คัดสรรระดับ 5 ดาวของอำเภอสันกำแพง ที่ตลาดชาวต่างชาติเปิดแขน
ต้อนรับงานฝีมือคุณภาพจากเชียงใหม่ที่สร้างยอดขายกว่า 20 ล้านบาทต่อปี
          
           บ้านศิลาดลไม่ได้เติบโตจากธุรกิจที่สร้างไว้แล้ว แต่มาเริ่มสร้างจากการเห็นโอกาสในการทำธุรกิจ ด้านหัตถกรรมเชียงใหม่ อำเภอสันกำแพง 
และมองเห็นความเป็นคนเมืองของตนเอง ว่าจะสื่อศิลปะหัตถกรรมสู่ทั่วโลกได้อย่างไร เราก็ปรับปรุง โดยการพัฒนาทางด้านสินค้า สถานประกอบการ 
คุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่เราทำ จะพัฒนาอย่างไร 
                      สิ่งที่อยู่ได้คือความต่างๆ เริ่มจากตัวเองก่อน ในเมื่อเราเชื่อว่าถ้าทำในส่งที่รักและชอบเท่ากับทุนทางปัญญาอยู่แล้ว 
เราสามารถต่อยอดไปได้เรื่อยๆ อย่างที่รู้ๆ กันว่า เครื่องเคลือบศิลาดลไม่ใช่มีแต่ เขียวๆ เรียบๆ ง่ายๆ แต่ตอนนี้เราต่อยอดไปสู่การนำ
ความเป็นล้านนาของเราใส่เขาไป ซึ่งคนต่างชาติทั่วโลกโหยหา ว่าเวลาเมื่อมาเชียงใหม่แล้ว สิ่งที่เขาไม่เคยเห็นทั่วโลก เขาต้องมาดูที่
เชียงใหม่อย่างเดียว
                      "แต่เมื่อมองภาพลักษณ์ตราสินค้า (Brand) เราจะทำให้คนติดตราตรึงใจได้อย่างไร ถ้าเราขายความอ่อนน้อมของวัฒนธรรมไทย 
คือ ความใส่ใจในลูกค้า ความซื่อสัตย์ จริงใจ และการบริการที่รวดเร็ว สิ่งไหนที่ลูกค้าต้องการ บ้านศิลาดลทำให้ได้หมด สิ่งที่ตามมานั่นคือ 
เมื่อเราสนองตอบความต้องการของลูกค้าได้ ราคาจะเป็นสิ่งที่ตามมา  เราพยายามสื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงว่า ผลิตภัณฑ์ของเราหรือสินค้าของเรา 
มีคุณค่าเพียงใด"
        
    "เพราะฉะนั้นวิธีการนำเสนอ จึงบริหารจัดการให้มีการนำเสนอดูกระบวนผลิตเพื่อให้คนเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ของเรานั้นมีคุณค่าอย่างไร เมื่อเห็นคุณค่า มูลค่าจะเกิดขึ้น 
จะนำไปสู่ภาพลักษณ์ที่ว่าเวลาคนมาเชียงใหม่จะคิดถึงศิลาดลเชียงใหม่ ซึ่งเราสามารถจดทรัพย์สินทางปัญญา ศิลาดลเชียงใหม่ ไม่ใช่ลำปาง นครปฐม หรืออยู่กรุงเทพ  
เมื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกตรงนี้ได้ ใครจะมาเชียงใหม่ต้องโหยหา นอกจากมาเที่ยวชมพระธาตุดอยสุเทพ มาเที่ยวแหล่งเขียนร่มบ่อสร้างแล้ว สิ่งที่ต้องถามหาสินค้า 
"local handicraft" คือ ศิลาดลเชียงใหม่"
         เมื่อวันที่  29 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือมหาวิทยาลัยพายัพ นำโดย ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด  อาจารย์ มยุรี ยาวิลาศและ อาจารย์ อินทราพร ตากันทา 
เข้าเยี่ยมคุณ ทัศนีย์ ยะจา และชม ร้าน "บ้านศิลาดล"  พร้อมทั้งเปิดบ้านใหม่ให้ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือได้เข้าไปเก็บภาพบรรยากาศ
     

     
     
     
     
     
    


ที่มาของข้อมูล
    
            " บ้านศิลาดล พิพิธภัณฑ์มีชีวิต คุณค่าที่เกินคำว่าบ้าน." 2551. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ : 1 กันยายน.
                       จาก http://www.businessthai.co.th/content.php?data=411874_Smart%20SMEs