การปลูกสร้างบ้านใหม่เขาช่วยเหลือกันตลอดเวลาจนเสร็จเป็นหลัง มีพิธีขึ้นบ้านใหม่ เลี้ยงสุราอาหาร ร้องรำทำเพลง ถ้าเป็นบ้านของเจ้าฟ้า พระยาเจ้าเมือง จะเรียกหญิงสาว
ทุกคนในเมืองหรือหมู่บ้านนั้นมานั่งเรียงรายสลอน มีการร้องเพลงขับเกี้ยวพาราสีหยอกเย้ากันระหว่างหนุ่มสาว การชกต่อยหึงหวงกันไม่มี ชายใดพอใจรักใคร่หญิงสาวคนใดก็เข้าไปเกี้ยว
พาราสีได้ไม่หวงห้าม
เมื่อเจ็บป่วยชาวลื้อทำพิธีเรียกขวัญเครื่องประกอบพิธีมีขนม กล้วย ไข่ไก่ ไก่ต้ม หมาก บุหรี่ เส้นด้าย ฯลฯ ถ้าคนป่วยกำลังจะตายเขาจะบอกให้ระลึกถถึงพระพุทธเจ้า พอตายลง
นิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ให้ศีลให้พร บังสกุล เทศน์ชาดก ทำบุญให้แก่ผู้ตาย เอาศพไว้บ้านราว 2-3 วันจึงนำฝัง มีญาติร้องไห้รำพันตาม นาน ๆ จะทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายสักครั้งหนึ่ง
การเที่ยวสาวนั้น หญิงสาวปั่นฝ้ายรอขายหนุ่มอยู่กลางลานบ้านข้างกองไฟเวลากลางคืนชายหนุ่มไปทักทายเกี้ยวพาราสีด้วยถ้อยคำร้อยกรองเป็นปริศนาอันไพเราะ ถ้าหญิงสาว
ชอบพอรักใคร่จะเรียกให้นั่งไต่ถามปัญหาข้องใจและเล่านิทานโบราณสู่กันฟัง หลายครั้งต่อหลายครั้งเป็นที่แน่ใจว่า ชายหนุ่มรักใคร่ตนจริงก็ชวนกันไปสนทนาบนบ้าน บางทีชายหนุ่มก็ถือ
เอาเป็นบ้านของตนเองเสียเลย บางคนกลับบ้านดึกดื่นจวนสว่าง บางทีเอนศีรษะนอนที่บ้านหญิงสาวหลับเพลินไปจนตะวันขึ้น บิดามารดาหญิงสาวเลยทึกทักเอาเป็นเขยหรือหญิงสาวจะ
แจ้งให้บิดาของตนทราบเองและส่งญาติผู้ใหญ่ไปแจ้งแก่บิดามารดาฝ่ายชายว่าใหม่คนนั้นมา สู้หมักฮัก บิดามารดาฝ่ายชายจะเรียกบุตรชายมาถามความสมัครใจ ถ้าชายไม่อยากได้หญิง
เป็นภรรยาก็บอกฝากไปว่า ปีนี้ไม่มีกรรมเวร รอปีหน้าก่อน ถ้าชายหนุ่มรับเอาเป็นภรรยาก็ส่งญาติฝ่ายตนไปเจรจาวางสินสอดทองหมั้นตามแต่ฐานะ หรือถ้าชายยากจนไม่ต้องมีอะไรเลยก็ได้
ทั้งสองฝ่ายนัดวันแต่งงาน ถ้าชายผลัดไปหลายเดือนหลายปีต้องมีการหมั้นด้วยเพื่อเป็นประกันไม่ให้หญิงสาวต้องพลาดหวังในการรอคอย
|
![]() |
การแต่งงานญาติทั้งสองฝ่ายเป็นทูตเจรจาตกลงกันถึง 3 หน เพื่อย้ำคำมั่นสัญญาให้แน่นแฟ้น โดยถามว่าชายจะเป็นบุตรเขยอยู่กี่ปี ชายแสร้งตอบว่า 3 ปี ฝ่ายหญิงบอกว่าไม่ได้ต้องเป็นลูกเขยตลอดชีวิต ฝ่ายชายจะต่อรองลงมา 8 ปี เมื่อหญิงไม่ยอมก็จำต้องให้คำมั่นสัญญา ว่าจะเป็นบุตรเขยตลอดชีวิต ปัญหาถัดมาก็ต่อรองกันอีกว่าคู่ผัวเมียจะอยู่บ้านบิดามารดาฝ่ายไหนกี่ปี อยู่บ้านฝ่ายใดก่อนหรือหลัง ต่อรองกันถึง 3 หน เป็นอันตกลงอยู่บ้านฝ่ายหญิงก่อน 3 ปี แล้วจึงมาอยู่บ้านฝ่ายชาย 3 ปี ปีถัดไปปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ต่างหาก การแต่งงานค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ฝ่ายชายเป็นฝ่ายออกมากกว่าฝ่ายหญิงโดยหาหมูหรือวัวควาย 1 ตัว หรือถ้าฐานะทั้งสองฝ่ายยากจนก็ใช้ เป็ด ไก่ แทนแต่ต้องมีสุรา 1 ไห หมาก 1 มัด นำมามอบแก่บิดามารดาหญิง หญิงสาวชาวบ้านไปช่วยทำอาหาร มีแกงอ่อม ลาบเนื้อ แกงฟัก ฯลฯ พอได้ฤกษ์งามยามดีชาวบ้านแห่นำเอาเจ้าบ่าว ไปส่งผู้เฒ่าฝ่ายเจ้าบ่าว จะพูดกับบิดามารดาของเจ้าสาวว่า เออ เอาลูกเป็นพ่ออ้ายจายเฮิน มาหอบหื้อ บิดามารดาสาวกล่าวตอบรับว่า เออดีแล้ว เอาลูกมาหื้อก็ยินดีจะเอาเป็นลูกอ้ายจายเฮิน แล้วจูงมือเจ้าบ่าวไปนั่งคู่กับเจ้าสาวโดยเจ้าบ่าวนั่งทางด้านขวา เจ้าสาวนั่งด้านซ้าย ท่านผู้เฒ่าเอาเส้น ด้ายมาทำพิธีมัดมือเรียกขวัญ และนำเอาถาดอาหารซึ่งบรรจุไก่ต้ม 1 ตัว สุรา 1 ขวด นอกจากนั้นมีข้าว กล้วยน้ำว้าให้คู่บ่าวสาวป้อนให้แก่กัน ท่านผู้เฒ่า ให้พรแขกให้ของขวัญแก่คู่บ่าวสาวโดยเขาจัดพานเงินไว้ 3 พาน พานหนึ่งนั้นบรรดา เจ้าฟ้า พระยา แสน หรือจา นำไปแบ่งกัน แขกผู้มาร่วมงานทุกคน เป็นเวลาดื่มสุราจะดื่มติด ๆ กัน 2 แก้ว แก้วหนึ่งเพื่อเจ้าบ่าวอีกแก้วหนึ่งเพื่อเจ้าสาว มีการเป่าปี่เล่มเดียวร้องเพลงลื้อหยอกเย้าเกี้ยวพาราสีและอวยพร คู่บ่าวสาวให้อยู่ด้วยกันมีบุตรหลานเต็มบ้านเต็มเมือง เจ้าบ่าวเจ้าสาวเมื่อมัดมือเรียกขวัญป้อนข้าวให้แก่กันแล้ว ผู้ใหญ่ก็จูงมือเข้าห้องหอ ประมาณ 10 นาที เจ้าบ่าวจะออกมาสนทนากับแขก งานแต่งงานเขาเลี้ยงบรรดาชาวบ้านผู้ไปร่วมงานอย่างอิ่มหนำสำราญขนบธรรมเนียมเหล่านี้ยังใช้กันอยู่ใน ดินแดนอินโดจีนเหนือและยูนนานใต้แต่สำหรับลื้อเชียงคำปัจจุบันบางเหล่าหันมานิยมขนบธรรมเนียมทางภาคกลางแทน และบรรดาบุตรหลานของ ชาวลื้อได้กลายเป็นชาวเหนือเสียโดยมาก |
การเดินทางไปหมู่บ้านชาวลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ไปได้ 2 ทางคือ จากอำเภอเมืองผ่านอำเภอเทิง ทางหนึ่งกับอำเภอพะเยาทางหนึ่ง ทางจากอำเภอเชียงราย
มีถนนเกวียนเดินได้ตลอดเป็นระยะทาง 62 กิโลเมตร อีกทางหนึ่งจับรถยนต์จากอำเภอพะเยาไปลงที่บ้านห้วยเข้าก่ำไประยะทาง 43 กิโลเมตร จากห้วยเข้าก่ำไปเชียงคำเป็นทางจังหวัด
บางตอนรถยนต์เดินไม่ได้ต้องใช้เกวียน ระยะทาง 30 กิโลเมตร ในบริเวณเมืองเป็นหมู่บ้านของชาวลื้อมีตระกูลใหญ่อยู่ 2 ตระกูล คือ ตระกูลวงศ์ใหญ่กับตระกูลวงศ์หลวงทั้งสองตระกูล
นี้มีญาติพี่น้องมาก มีนิสัยใจคอโอบอ้อมอารีย์ต่อแขกต่างถิ่น.
|
ที่มาของข้อมูล
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. 2547. 30 ชาติในเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศยาม.