วัดพระบาทห้วยต้มตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม หมู่ ๘ ตำบล นาทราย อ.ลี้ จังหวัดลำพูน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอลี้ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร บริเวณ
วัดเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานรอยพระบาทที่เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั้งคนพื้นราบและคนบนที่สูง ตำนานพระเจ้าเลียบโลกได้กล่าวถึงการเสด็จมา
ของพระพุทธองค์ที่เมืองลี้ ได้พบกับชาวลัวะซึ่งนำเอาอาหารมาถวาย พระพุทธองค์ทรงทำนายว่าสถานที่นี้จะเรียกว่า “ ห้วยต้มบุญ” และจะเป็น “ ที่ตั้งศาสนา” เมื่อพระอรหันต์และ
พระเจ้าอโศกมหาราชได้กราบทูลขอพระเกศาธาตุ พระองค์ไม่พระราชทานเนื่องจากเป็นบ้านเล็กเมืองน้อย จะไม่มีผู้เอาใจใส่ดูแลพระเกศาธาตุ จึงทรงเหยียบรอยพระบาทไว้ให้เคารพบูชาแทน
        แต่เดิมครูบามหาอินทร์ เจ้าคณะอำเภอลี้ จังหวัดลำพูนได้รับทราบมาจากชาวกะเหรี่ยงว่ามีรอยพระบาทจึงได้ออกค้นหาและตรวจสอบ
หลักฐานพบว่าเป็นพระบาทที่ตำนานกล่าว ถึงไว้จริงจึงได้เชิญชวนประชาชนที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันบูรณปฏิสังขรณ์และได้สร้างมณฑปครอบ
เป็นสถานที่สำหรับพุทธศาสนิกชนจนมาจาริกแสวงบุญ ในปี ๒๔๘๔ ครูบาคำผุยมหาชโยวัด บ้านแวนพร้อมทั้งศิษยานุศิษย์ได้เห็นว่าสิ่งก่อสร้าง
ที่พระบาทห้วยต้มนั้นชำรุดทรุดโทรม จึงได้นิมนต์พระจันทวังโสภิกขุ หรือพระครูพัฒนากิจจานุรักษ์ หรือครูบาชัยวงศาพัฒนา จากวัดป่าพล ูอำเภอ
บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้มนี้เป็นการถาวรเพื่อทำการบูรณปฏิสังขรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๙
 พระจันทวังโสภิกขุได้นำชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านทำการก่อสร้าง เริ่มจาก การสร้างวิหารครอบรอยพระบาท
ในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๔๙๐
                  งานก่อสร้างต่างๆครูบาชัยยะวงศาเป็นผู้ออกแบบงานก่อสร้างเองโดยท่านจะมอบหมายและบอกให้หัวหน้าช่างที่เป็นชาวกะเหรี่ยง
มารับทราบวิธีการก่อสร้างเป็นขั้นตอนแล้วไปเริ่ม ทำการก่อสร้าง หากมีปัญหาก็นำมาเรียนปรึกษาท่านเพื่อขอคำแนะนำไปแก้ไขเสร็จแล้วก็มา
รับงานไปทำต่อไป เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสถามว่าทำไมครูบาฯจึงสร้างวัดวาอารามมากมาย ครูบาฯกราบทูลว่าการสร้างวัดเป็น
การฝึกอบรมชาวเขาให้มีความรู้มีอาชีพและทำให้ได้บุญด้วย จะเห็นได้ว่าครูบาเริ่มการก่อสร้างทีละหลายจุดเพื่อให้ชาวกะเหรี่ยงในชุมชน
พระบาทห้วยต้มมีงานทำ ไม่มีการกำหนดงบประมาณ ทำไปเรื่อย ๆ ตามที่ได้รับบริจาคจากผู้มีศรัทธา เป็นการสร้างงานและรายได้ให้กับชุมชน
แต่ค่าจ้างแรงงานชาวกะเหรี่ยงจะต่ำกว่าค่าแรงงานทั่วไปเพราะถือว่าเป็นการทำ บุญ เป็นการฝึกงานฝึกอาชีพ และทำให้มีรายได้เลี้ยงชีพตาม
สมควร ที่สำคัญคือ เป็นการทำด้วยความเลื่อมใสครูบาฯ ความสามารถในการก่อสร้างของครูบาชัยยะวงศาทำให้ท่านได้รับคำชมว่า

                      ..พระคุณท่านมีความรู้ด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่ดีเลิศอย่าง หาได้ยากในจำนวนพระสงฆ์ทั้งหลาย จะเห็นได้จากการพัฒนาหมู่บ้าน พระบาทห้วยต้ม
                      จนมีความเจริญก้าวหน้า ถนนและอาคารบ้านเรือน ของราษฎรชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงในหมู่บ้านได้ถูกจัดระเบียบไว้อย่าง สวยงามเหมือนกับบ้านจัดสรร น่าชื่นชม
                      ในความคิดของท่านเป็นอัน มาก... 
        พื้นที่พระบาทห้วยต้มพัฒนาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ด้วยบารมีของครูบา ชัยยะวงศา มีชาวกะเหรี่ยงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
อยู่กับครูบาฯด้วยความเลื่อมใสในคำสั่งสอนและวัฏปฏิบัติของครูบาฯ ไม่เพียงแต่ชาวกะเหรี่ยงที่เลื่อมใสในครูบาฯ คนพื้นเมืองและคน
จากจังหวัดอื่น ๆ ก็เลื่อมใสและร่วมทำบุญในกิจกรรมทางศาสนาที่ครูบาฯ ริเริ่มทุกครั้งวัดพระพุทธบาทห้วยต้มจึงเปลี่ยนจากวัดเล็ก ๆ 
ในชนบทกลายเป็นศูนย์กลางของชุมชนขนาดย่อม ๆ วัดมีสิ่งก่อสร้างและอาคารต่าง ๆ ที่สวยงามเพิ่มขึ้น การก่อสร้างแต่ละครั้งนั้น
 มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก แต่ครูบาฯก็ได้รับการบริจาคจากลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายสำหรับสิ่งก่อสร้างหลักที่สำคัญของวัด
                 การก่อสร้างยังไม่เสร็จสิ้นแต่ครูบาชัยยะวงศาถึงแก่มรณภาพไปเสียก่อนการก่อสร้างยังดำเนินเรื่อยมาจนในเดือนตุลาคม ๒๕๔๔ 
มียอดค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดประมาณ ๑๙๓,๒๕๔,๘๖๗ บาทความเคารพนับถือและผูกพันกับครูบาชัยยะวงศานั้นมีความสืบเนื่องมาจากคติ
ความเชื่อดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยง โดยเฉพาะคติความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับฤาษีหรือนักบุญทำให้ชาวกะเหรี่ยงในภาคเหนือซึ่งรับนับถือพุทธ
ศาสนานิกายพื้นเมืองของล้านนานับถือครูบาหลาย ๆองค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวกะเหรี่ยงนับถือครูบาศรีวิชัยอย่างสูง ครูบาศรีวิชัยได
้เปิดโอกาสให้ชาวกะเหรี่ยงเข้าวัดฟังธรรม และบวชโดยที่ผู้บวชนั้นไม่ได้มีคุณสมบัติถูกต้องในส่วนที่เกี่ยวกับความรู้ความสามารถทางภาษา
บาลีตามระเบียบคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๔๔๕ แน่นอนว่าชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ห่างไกลไม่อาจจะเรียนรู้ภาษาพิเศษเช่นนั้นได้
้หากปฏิบัติตามกฎระเบียบแล้วก็คงไม่ได้บวช แม้ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ถูกเรียกตัวไปสอบและกักขัง แต่ชาวกะเหรี่ยง ยังยึดมั่นในตัว
ของครูบาว่าเป็นนักบุญผู้ที่จะช่วยให้ชาวกะเหรี่ยงพ้นจากความทุกข์และการกดขี่ข่มเหงและมีความสุขสบายในอนาคต

 

 

 

 


ที่มาของข้อมูล
    
            รุจพร ประชาเดชสุวัฒน์.  2550.  "วัดพระบาทห้วยต้ม".  ม.ป.ท. : ม.ป.พ.