ขอบเขตของข้อมูล
ข้อมูลที่มีการรวบรวมจะมีเนื้อหาทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม
ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ
ได้แก่ เชียงใหม่
เชียงราย ลำปาง
ลำพูน พะเยา แพร่
น่าน แม่ฮ่องสอน
ตาก
เศรษฐกิจ
การเงิน
การจ้างงาน
การค้า
การลงทุน
ภาวะอุตสาหกรรม
ประชากร
แผนที่
การขนส่ง
คมนาคม
การเมืองการปกครอง
สังคม
วัฒนธรรม
|
1. ที่ปรึกษาโครงการ อ.สุนทรี รัถยาอนันต์ |
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ |
3.
หลักการและเหตุผล ปัจจุบันประเทศไทยมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอาจนับได้ว่าไทยเป็นด่านหน้าของภูมิภาคนี้ กำลังเปิดกว้างสู่นานาชาติ เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ประเทศไทยก็ได้ดำเนินนโยบายพัฒนาภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยเฉพาะภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สามารถเชื่อมโยงเปิดกว้างสู่มิตินานาชาติ ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในรูปสามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจพร้อมกันไปในส่วนของภาคเหนือก็มีโอกาสดีกว่าภาคอื่น ๆ ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ และวัฒนธรรมของผู้คนซึ่งมีสายสัมพันธ์สืบสานกันมาช้านาน ระหว่างกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่น่านเจ้ามาสู่สิบสองปันนา มาสู่ล้านนา และล้านช้าง จนมาถึงปัจจุบัน ได้มีการนำแนวความคิดฟื้นฟูและสถาปนาความร่วมมือ 5 เชียงขึ้นมาใหม่อีกครั้งในอนุภูมิภาคนี้ ระหว่างเชียงใหม่ (ไทย) เชียงราย (ไทย) เชียงตุง (พม่า) เชียงรุ่ง (จีน) และ เชียงทอง (ลาว) ขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจสู่ทศวรรษที่ 21 ต่อไป ภาวะเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันภายใต้กระแสสังคมสารสนเทศ ที่ได้มีการพัฒนาและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ข้อมูลข่าวสารนับวันจะมีความสำคัญและมีบทบาทต่อการนำไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งรูปแบบการจัดเก็บและการให้ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การเข้าถึงสารนิเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว สามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างทันทีทันใด สำนักหอสมุดได้เล็งเห็นความสำคัญของข้อมูลเศรษฐกิจภาคเหนือ จึงมีโครงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาคเหนือตอนบน โดยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสาร และหนังสือพิมพ์ที่มีในห้องสมุด นอกจากนี้ทางสำนักหอสมุดยังมีโครงการที่จะรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัด ใกล้เคียง ในแผนงานต่อไป เพื่อทำให้ศูนย์ข้อมูลนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้ใช้ทุกประเภท |
4.
วัตถุประสงค์ 4.1 เพื่อจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลทางด้านภาคเหนือในรูปแบบดิจิตอล 4.2 เพื่อจัดทำฐานข้อมูลด้านภาคเหนือ 4.3 เพื่อให้บริการข้อมูลทางด้านภาคเหนือ |
5.บุคลากร ศูนย์ข้อมูลภาคเหนือ มีบุคลากรที่ทำหน้าที่ในด้านการผลิตและการให้บริการ ดังนี้ 5.1 บรรณารักษ์ จำนวน 1 คน 5.2 เจ้าหน้าที่ จำนวน 1 คน |
6.
ขอบเขตของข้อมูล ข้อมูลที่มีการรวบรวมจะมีเนื้อหาครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน ตาก โดยรวบรวมข้อมูลทางด้านต่าง ๆ ดังนี้ 6.1 เศรษฐกิจ การเงิน 6.2 การจ้างงาน 6.3 การค้า การลงทุน 6.4 ภาวะอุตสาหกรรม 6.2 ประชากร 6.3 แผนที่ 6.4 การขนส่ง คมนาคม 6.5 การเมืองการปกครอง 6.6 สังคม วัฒนธรรม |
7. การรวบรวมข้อมูล 7.1 รวบรวมข้อมูลที่มีทั้งในวัสดุสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ ที่มีในสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยพายัพ 7.2 รวบรวมข้อมูลที่มีทั้งในวัสดุสิ่งพิมพ์และโสตทัศนวัสดุ ที่มีในแหล่งสารนิเทศอื่นๆ |
8.
การบริการ 8.1 บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า 8.2 บริการรวบรวมบรรณานุกรม 8.3 บริการการอ่าน 8.4 บริการค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยระบบ OPAC (Online Public Access Catalog) 8.5 จัดแสดงหนังสือใหม่ |
9. แผนการดำเนินการ 9.1 กำหนดขอบเขตของสารนิเทศทางด้านภาคเหนือ 9.2 สำรวจแหล่งสารนิเทศที่มีในสำนักหอสมุด และแหล่งสารนิเทศอื่นๆ 9.3 จัดทำฐานข้อมูล 9.4 ให้บริการ |
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 10.1 สำนักหอสมุดมีศูนย์ข้อมูลภาคเหนือในรูปแบบดิจิตอล 10.2 สำนักหอสมุดสามารถให้บริการ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับภาคเหนือแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว |
|