ที่มาของข้อมูล
วิเวศ วัฒนสุข. 2549. 8 ทศวรรษดอกเอื้องเวียงพิงค์สายสัมพันธ์แห่งอารยธรรม.กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
อร โศภนะศุกร์ นางสาวเชียงใหม่ ปี ๒๔๙๓ |
งานฤดูหนาวประจำปี 2493 ได้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 7 มกราคม ได้เริ่มขึ้นและดำเนินไปตามความมุ่งหมายของผู้จัดงาน ประชาชนต่างพากันเข้าชมกันอย่างคับคั่ง ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น แม้ประชาชนบริเวณงานจะแก้หนาวได้โดยการสวมทับเสื้อกันหนาวกันหนาแน่นทุกคน แต่สาวงามผู้เข้าประกวดนางสาวเชียงใหม่ต้องแก้หนาวด้วยการ ผิงเตาอั้งโล่หลังเวที เพราะชุดเข้าประกวดในปีนี้เป็นชุดชายหาด ขาสั้น เสื้อแขนกุดมีสายคล้องผูกที่ต้นคอโชว์แผ่นหลัง เช่นเดียวกับปีกลายเดินนวยนาดออกมาประกวดหน้าเวที ีท่ามกลางอุณภูมิซึ่งต่ำลงเกือบ 10 องศา |
|
![]() |
สถานที่การจัดประกวดแต่เดิมที่จัดกันภายในหอประชุมยุพราชวิทยาลัยหรือหอประชุม อาจวิชาสวรรคเป็นหอประชุมเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่ปี 2575
ได้ย้ายมาจัดเวลาประกวดกลางแจ้งบริเวณหน้าเรือนเพชรที่สามารถสร้างเวทีให้ใหญ่กว่าเดิม เพื่อรองรับผู้ที่สนใจเข้าชมประกวดนางงามที่เพิ่มขึ้นมากทุกปี
สาวงามผู้รวมประกวดจากทุกเขตอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ต่างเข้าร่วมประกวดเข้าชิงมงกุฎรวม 39 นางสาวโดยแบ่งเข้าประกวดตั้งแต่คืนวันที่ 2-6 คืนละ
8 นางสาวและมีการตัดสินการประกวดรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 7 มกราคมอันเป็นสุดท้ายของการจัดงาน
|
ผลการตัดสินนางสาวเชียงใหม่ในเวลาใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 7 มกราคม ผู้พิชิตมงกุฎนางสาวเชียงใหม่ได้แก่สาวงามหมายเลข 29 นางสาวอร โศภนะศุกร์ รองอีกสองตำแหน่ง
ได้แก่หมายเลข 32 นางสาวสุนี นนาวิชิตและหมายเลข 24 นางสาวเอื้อมพร ธิมาโนอร โศภนะศุกร์ นับเป็นสาวงามจากกรุงเทพที่ครองตำแหน่งนางสาวเชียงใหม่ ส่งเข้าประกวดโดย
นายแพทย์นพรัตน์ บุญเลิศ โดยในขณะนั้นเธอได้พำนักอยู่ที่เชียงใหม่พอดี เป็นลูกคนสุดท้องค่ะ เป็นคนกรุงเทพเรียนจบจากอัสสัมชัญคอนแวนในระดับชั้นมัธยมก็ได้ไปเที่ยวที่เชียงใหม่
เลยได้เข้าประกวดค่ะ
|
คุณอร ในวัย 76 ปี เล่าถึงเรื่องราวครั้งอดีตให้เราฟังที่บ้านพักย่านจรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีคุณลุงเป็นนายอำเภอเมืองที่เชียงใหม่ค่ะ มีพี่สาว พี่เขยสนับสนุนและหมอนพรัตน์
หมอประจำของพี่สาวชักชวนให้ประกวดค่ะ ตอนนั้นก็ไม่มีใครคิดว่าคนกรุงเทพจะได้มงกุฎนางสาวเชียงใหม่ หลังจากนั้นคุณอรยังพำนักอยู่ที่เชียงใหม่จนเข้าพิธีสมรสกับนายสมาส อมาตยกุล
ในปีเดียวกัน
|
แต่งงานปีนั้นเลย ตอนนั้นสามีเป็นนายอำเภออยู่จอมทองเป็นคนกรุงเทพเหมือนกัน มีคุณสุมิตรา (นางสาวเชียงใหม่ 2492) กับคุณสุนี (รองนางสาวเชียงใหม่ 1493 เป็นเพื่อนเจ้าสาว
ตอนแต่งงาน จากนั้นสามีได้มาเป็นนายอำเภอเมือง ย้ายตามสามีไปเรื่อย ๆ ไปเชียงรายไปเป็นผู้ว่าที่ปัตตานีย้ายไปหลายที่ค่ะมีบุตรสามคน คนโตเป็นทูต คนรองเป็นผู้กำกับเป็นผู้ชาย
สองคน ส่วนคนสุดท้องเป็นผู้หญิงค่ะ (ยิ้ม) ปัจจุบันแม้ว่าคุณสมาสผู้เป็นสามีจะเสียชีวิตไปแล้วแต่คุณอรยังใช้ชีวิตอยู่กับลูก ๆ และหลาน ๆ ส่วนสุขภาพของคุณอรแม้จะไม่แข็งแรง
นักเนื่องจากมีโรคประจำตัวแต่เธอก็ยังสดชื่นด้วยหัวใจที่เข้มแข็งและยังคงเค้าแห่งความงามไปเสื่อมคลาย
|