จดหมายเหตุเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ พระพุทธศักราช 2469 . 2474.  
พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร .
หนังสือจดหมายเหตุเรื่องนี้ รองอำมาตย์ตรี กมล มโนชญากร จ่าจังหวัดน่าน รวบรวมจากข่าวที่ประกาศเป็นทางราชการ และรายงานของจังหวัดที่ได้จัดการรับเสด็จ โดยบัญชาของพยาราชกูลวิบูลย์ภักดีพิริยพาหะ ( อวบ เปาโรหิตย์ )สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลพายัพ หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเหตุการณ์ตั้งแต่การเตรียมการ ก่อนเสด็จจนถึงการเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ อันได้แก่ มณฑลพิษณุโลก เมืองแพร่ เมืองนครลำปาง เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน นครเชียงใหม่ เมืองนครลำพูน ตลอดจนเสด็จเยี่ยมโรงพยาบาลและโรงเรียนของ คณะมิชชันนารี รวมเวลาเสด็จพระราชดำเนิรเลียบมณฑลฝ่ายเหนือ ทั้งไปและกลับ ในคราวนี้ 32 ราตรี

ดำรงราชานุภาพ , สมเด็จกรมพระยา . 2470. อธิบายระยะทางล่องลำน้ำพิง

          ตั้งแต่เมืองเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์ .  กรุงเทพฯ : หอพระสมุดวชิรญาณ .

          หนังสือเล่มนี้ รองเสวกเอก พระโสภณอักษรกิจ พิมพ์ถวายสนองพระคุณพระ

วิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎฯ เพื่อเป็นหนังสืออธิบายระยะทางที่พระวิมาดาเธอฯ

จะเสด็จขึ้นไปประพาสมณฑลพายัพในปี พ . ศ .2470 เนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องการล่อง

น้ำปิงในแต่ละวัน ตั้งแต่เมืองนครเชียงใหม่จนถึงปากน้ำโพธิ์  ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมพระยาดำรงราชานุภาพครั้งไปเที่ยวมณฑลพายัพ แล้วล่องลงมาทางเรือ เมื่อวันที่

11 กุมภาพันธ์ – 8 มีนาคม 2464 นับเป็นหนังสือที่มีคุณค่าทางภูมิศาสตร์เล่มหนึ่ง 
 

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ . 2498. ลื้อคนไทยในประเทศจีน ( ไทยสิบสองปันนา

           เล่ม 2). พระนคร : โรงพิมพ์รับพิมพ์ . 

           เป็นหนังสือที่ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ ได้เขียนขึ้นต่อจากหนังสือไทยสิบสองปันนา

 เล่ม 1  เนื้อหาภายในเล่มกล่าวถึง จารีตประเพณี วัฒนธรรม ภาษา พิธีกรรม ฯลฯ

ของชาวไทยลื้อ หรือไตลื้อที่อาศัยอยู่ในแคว้นสิบสองปันนาทางตอนใต้ของมณฑล

ยูนนาน หนังสือเล่มนี้ช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม จารีต

ประเพณีต่าง ๆ ของชนเผ่าไทยในต่างประเทศ

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ . ม.ป.ป. ไทยสิบสองปันนา . เล่ม 1. พระนคร : โรงพิมพ์

           รับพิมพ์.

           เนื้อเรื่องในหนังสือกล่าวถึงเรื่องราวของชาวไทยลื้อที่อาศัยอยู่ในแคว้น

สิบสองปันนามณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยบรรยายถึงสภาพของการปกครอง

ภูมิประเทศ ประวัติ และตำนานเมือง รวมถึงพิธีเลี้ยงเทวดาเมือง นับเป็นหนังสือ

ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับชนชาติไทยที่อาศัยในตอนใต้ของประเทศจีน

จดหมายเหตุเรื่องปราบขบถเวียงจันท์ . 2469. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณ

           พิพรรฒธนากร.

           หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับการเกิดขบถเวียงจันท์

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีรายละเอียดเริ่มตั้งแต่

พงศาวดารเมืองเวียงจันท์ก่อนเกิดขบถ สาเหตุที่เกิดขบถเวียงจันท์จนถึงการปราบ

ขบถเวียงจันท์ ในปี พ.ศ. 2370 นอกจากหนังสือเล่มนี้จะให้คุณค่าทางด้าน

ประวัติศาสตร์แล้วยังให้ความรู้เรื่องวิธีการสู้รบในสมัยนั้นอีกด้วย

ดำรงราชานุภาพ,กรมพระ. 2459. จดหมายเหตุเรื่องทัพเชียงตุง.

              กรุงเทพฯ  :  โรงพิมพ์ไทย.

              กรมพระดำรงราชานุภาพ ได้รวบรวมเนื้อหาหนังสือเล่มนี้มาจาก

จดหมายเหตุ“ ครั้งกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เสด็จยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง ”

ที่มีอยู่กว่า 10 เล่ม มาตรวจดู เห็นว่าพอจะเลือกคัดเรียบเรียงให้เนื้อหาเรื่องราว

ต่อกันได้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นเรื่องสำคัญใน พระราชพงษาวดารเรื่องหนึ่ง แต่ยังมี

ผู้รู้เรื่องจริงน้อย และมักพูดกันไปทางติเตียน เพราะตีเมืองเชียงตุงไม่ได้ครั้งนั้น

เลยพาให้เป็นข้อเข้าใจว่ามีความเสื่อมเสียอยู่ในกรมหลวงวงษาฯแต่เมื่อรวบรวมดู

จึงพบกับสิ่งตรงข้ามกับที่ได้ยินมา โดยได้เห็นพระอุตสาหะพากเพียรของ

กรมหลวงวงษาฯ  ที่ทรงพยายามในครั้งนั้นมาก ที่ตีไม่ได้เมืองเชียงตุงเพราะ

เหตุอื่น คือ เพราะรัฐบาลที่กรุงเทพฯ หย่อนความรู้เรื่องภูมิแผนที่เป็นต้น

มิใช่ความผิดของแม่ทัพนายกองที่ยกไป อีกประการ ๑ เห็นว่า เรื่องราวที่ปรากฎ

ในหนังสือเล่มนี้ ประกอบด้วยคติอันควรรู้ ทั้งฝ่ายราชการพลเรือนและราชการทหาร

จึงได้รวบรวมจดหมายเหตุเรื่องทัพเชียงตุง และตีพิมพ์ขึ้น

ไกรศรี นิมมานเหมินท์. 2503. เครื่องถ้วยสันกำแพง. เชียงใหม่ :

              คนเมืองการพิมพ์.

              หนังสือเครื่องถ้วยสันกำแพงเล่มนี้ เป็นหนังสือที่ระลึกเนื่องในวัน

ทำบุญวันเกิดของ นายกี นิมมานเหมินท์ ซึ่งมีอายุครบ 6 รอบบริบูรณ์ (72 ปี) 

ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 เนื้อหาของหนังสือมีทั้งภาคภาษาไทย 

และภาษาอังกฤษ โดยกล่าวถึงการค้นพบเตาเครื่องถ้วยเคลือบ อันเป็นที่มาของ

เครื่องถ้วยสันกำแพง , ศิลาจารึกของหมื่นดาบเรือน, เศษเครื่องลายครามจีนสมัย

ราชวงศ์หมิง, กษณะของเตา, ทำเลที่ตั้งของเตา, ลักษณะเครื่องถ้วยสันกำแพง,

, เตาเครื่องถ้วยแห่งอื่น ๆ ในภาคเหนือ และประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับ

เครื่องถ้วยสุโขทัย ส่วนท้าย ของเล่มเป็นภาพประกอบ 

มงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. 2472. ลิลิตพายัพ. กรุงเทพฯ :

                โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ไทย.

                ลิลิตพายัพ เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

ที่ทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อปี พ.ศ. 2448 ขณะนั้นยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรม

โอรสาธิราช  ในปีนั้นการได้มีการสร้างรถไฟสายเหนือสำเร็จจนถึงเมืองนครสวรรค์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จไปเปิดรถไฟที่สถานีบ้านพาชี

แล้วเลยเสด็จประพาสเมืองลพบุรี และมณฑลนครสวรรค์และในการเสด็จเปิดทาง

รถไฟนี้ได้โปรดฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จไปประพาสหัวเมืองมณฑล

พายัพโดยมีพระราชประสงค์จะให้ทรงคุ้นเคยกับราชการหัวเมืองประเทศราชที่ห่างไกล

ไว้ด้วย เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และจัดพิมพ์นั้น มีพระราชประสงค์จะมิให้คนทั้งหลาย

ถือว่าเป็นหนังสือทรงแต่งในทางราชการ จึงใช้พระนามแฝงว่า “ หนานแก้วเมืองบูรพ์ ” 
                หนังสือลิลิตพายัพ ฉบับปีพิมพ์ 2472 นี้ เป็นการจัดพิมพ์เนื่องในการกุศล

เมื่อพระตำรวจเอก เจ้าพระยาราชศุภมิตร ถึงอสัญกรรม ณ วันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2472

โดยคณะเจ้าภาพงานศพ ได้ขออนุญาตจากราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์หนังสือแจกเป็นที่

ี่ระลึกและได้รับอนุมัติจากกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา

ในขณะนั้น ให้ดำเนินการจัดพิมพ์ได้. 

McGilvary, Daniel. 1912. A Half Century Among the Siamese

                 and the Lao. New York : Fleming H. Revell. 

                หนังสือ A Half Century Among the Siamese and the Lao

เป็นอัตชีวประวัติของ Daniel McGilvaryซึ่งเป็นมิชชันนารี สังกัดคริสตจักร

เพรสไบทีเรียนแห่งสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และเป็นมิชชันนารีคนแรก

ที่เข้ามาเผยแพร่คริสตศาสนาในเชียงใหม่ หนังสือเล่มนี้เป็นอัตชีวประวัติตั้งแต่

เป็นเด็กจนกระทั่งได้รับมอบหมายให้มาทำงานในประเทศไทย ตั้งแต่ ค . ศ .1858

จนถึงเสียชีวิตในปี ค . ศ .1911 Daniel McGilvary เริ่มงานที่กรุงเทพฯจากนั้นจึง

ย้ายไป เพชรบุรีและเชียงใหม่ตามลำดับ หนังสือเล่มนี้ท่านได้เรียบเรียงขึ้นเองจาก

ประสบการณ์ชีวิต ผู้อ่านจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการเดินทางล่องลำน้ำปิง

สภาพภูมิประเทศ ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ความสัมพันธ์กับเจ้านาย ข้าราชการ

และชาวต่างประเทศอื่น ๆ หนังสือเล่มนี้ยังเป็นคู่มือที่ดีมากในการศึกษาเรื่องราวประวัติ

การก่อตั้งคริสตจักรในภาคเหนือ บทบาทของมิชชันนารีในการจัดการศึกษาด้านการแพทย์

ในภาคเหนือการเผยแพร่ศาสนาไปสู่ท้องถิ่นและดินแดนประเทศที่ใกล้เคียง รวมทั้ง

ความเป็นอยู่และประเพณีความเชื่อถือ และสภาพสังคมต่าง ๆ ในแต่ละท้องถิ่น พร้อมทั้ง

มีภาพประกอบเป็นภาพถ่ายที่สวยงาม

Wood, W.A.R. 1935. Land of Smiles. Bangkok :

                   Krungdebarnagar Press .

                   หนังสือ Land of Smiles เขียนโดย W.A.R. Woodซึ่งเป็นอดีตกงสุล

อังกฤษประจำเชียงใหม่ ได้เขียนเรื่องราวซึ่งเขาเองบอกว่าไม่ได้เป็นเชิงวิชาการแต่เป็น

เรื่องเบ็ดเตล็ดต่างๆเกี่ยวกับวงการทูต และสิ่งที่พบเห็นระหว่างที่เป็นกงสุลอยู่ที่เชียงใหม่

ได้แก่ ชีวิตผู้คนทั้งชาวท้องถิ่น และชาวต่างชาติ วัฒนธรรมประเพณีความแตกต่างระหว่าง

เชื้อชาติ และวัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องขำขันต่าง ๆนอกจากนี้ยังให้ความรู้ในเรื่องการทำป่าไม้

ในภาคเหนือและการเลี้ยงช้าง ภายในเล่มมีภาพถ่ายประกอบจำนวนมากที่ถ่ายโดยมิชชันนารี

ชาวอเมริกัน

Dodd, William Clfton. 1923. The Tai Race ; Elder Brother of the

                   Chinese. Cedar Rapids, IA : Torch Press. 

                   หนังสือ The Tai Race หรือชนชาติไทนี้ เป็นหนังสือที่นิยมนำมาใช้

อ้างอิงในด้านความเป็นมาของชนชาติไทเป็นเวลานานแล้ว ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือ 

William C . Dodd เป็นมิชชันนารีจากคริสตจักรเพรสไบทีเรียน แห่งสหรัฐอเมริกา

ประจำอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ได้เดินทางไปสำรวจดินแดนที่อยู่เหนือประเทศไทย

ขึ้นไป เพื่อไปเผยแพร่คริสตศาสนาแก่กลุ่มชนที่ใช้ภาษาตระกูลไท Dr.Dodd ได้แบ่ง

ชาวไทเผ่าต่างๆ ที่เขาได้ไปสำรวจนี้ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่มีภาษาเขียน

เป็นของตนเอง และกลุ่มที่ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง การเดินทางของ Dr.Dodd 

เริ่มตั้งแต่ปี 1910 – 1913 โดยทางม้าและทางเดินเท้า ผ่านเชียงรายสู่เชียงตุงในพม่า

 แล้วเข้าไปยังสิบสองปันนา และส่วนอื่น ๆ ของมณฑลยูนนานในจีนตลอดจนถึง

มณฑลกวางตุ้ง กวางสี ตังเกี๋ย และทางตอนเหนือของแคว้นอินโดจีนของฝรั่งเศสด้วย

 Dr.Dodd ได้รายงานผลการสำรวจชาวไทเผ่าต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งคนไทยในประเทศไทยด้วย 

โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอยู่และประเพณีความเชื่อทางศาสนาและภาษาที่ใช้ 

นอกจากนี้ยังมีแผนที่ และตารางเปรียบเทียบภาษาของชาวไทเผ่าต่างๆ รวมทั้งประวัติ

ความเป็นมาในส่วนที่กล่าวถึงประเทศไทย อีกทั้งยังให้ความรู้เรื่องการศึกษา 

และคริสตจักรอีกด้วย 

Griswold, A.B.. 1957. Dated Buddha Images of Northern Siam.

                  Ascona : Artibus Asiae Publishers.

                  หนังสือเล่มนี้รวมรวบโดย A.B . Griswold เป็นหนังสือที่รวบรวมภาพ

คำอธิบายพระพุทธรูป ที่เป็นศิลปะแบบภาคเหนือ ทั้งศิลปะเชียงแสน พระสิงห์แบบต่าง ๆ

รวมทั้งศิลปะแบบผสม พร้อมด้วยขนาด ความเป็นมา คำจารึกใต้ฐานพระพุทธรูป

ปีที่สร้าง และที่ประดิษฐานในปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษา

เรื่องพระพุทธรูปในประเทศไทย และประวัติศาสตร์ศิลปกรรมในแนวพุทธศาสนา
Next page

 

 

 

 
แนะนำหนังสือหายากภาคเหนือ